Mekha News (มีค่านิวส์) : เว็บไซต์ข่าว ที่จะนำเสนอข่าวสารเพื่อรักษาสิทธิให้กับคุณ

“เงินกู้ 1 ล้านล้าน” ยังเหลือ! เล็งใช้เยียวยา – กระตุ้นเศรษฐกิจ

ข่าวมีค่า ติดตามแผนการใช้ “เงินกู้ 1 ล้านล้าน” ที่ล่าสุดเริ่มมีข้อเสนอแนะจากหลายฝ่าย เรียกร้องให้รัฐบาลนำเงินส่วนที่ยังเหลืออยู่มาใช้ช่วยเหลือเยียวยาประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่กำลังส่งผลกระทบทั้งต่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในปัจจุบัน   

ที่มาของเรื่อง

สถานการณ์การแพร่ระบาดระลอกใหม่ของเชื้อโควิด-19 ในประเทศ นอกจากจะส่งผลให้มีผู้ติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องแล้ว ยังกระทบต่อภาคเศรษฐกิจทั้งฝั่งลูกจ้างและผู้ประกอบการ และเมื่อยังไม่สามารถจะคาดการณ์ได้อย่างชัดเจนว่าสถานการณ์จะดีขึ้นเมื่อใด ทำให้เริ่มมีการกล่าวถึง “ความช่วยเหลือ” จากภาครัฐ กับการออกมาตรการบางอย่างเพื่อช่วยพยุงสภาพเศรษฐกิจไม่ให้ติดลบมากกว่าที่เป็นอยู่

“เงินกู้ 1 ล้านล้าน” ตัวช่วยของภาครัฐ

รัฐบาลได้ออก “พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ.2563” หรือ “พ.ร.ก. เงินกู้ 1 ล้านล้านบาท” เพื่อนำเงินมาใช้ในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ใน 2 ส่วน ได้แก่ 1. การเยียวยาประชาชนและดูแลด้านสาธารณสุข กับ 2. มาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งการช่วยเหลือประชาชนผ่านโครงการอย่าง “เราไม่ทิ้งกัน”, “คนละครึ่ง”, “เราชนะ” และ “เรารักกัน” ก็รวมอยู่ในงบประมาณก้อนนี้ด้วย

 เมื่อโควิดกลับมา : รัฐบาลยังมีเงินหรือไม่?

การแพร่ระบาดครั้งใหม่ของเชื้อโควิด-19 ทำให้ประเด็นมาตรการช่วยเหลือจากภาครัฐถูกกล่าวถึงอีกครั้ง ว่าอาจเป็นความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องมีมาตรการออกมาเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่จากการที่รัฐใช้งบประมาณไปกับโครงการช่วยเหลือประชาชนหลายๆ โครงการตลอด 1 ปีที่ผ่านมา ทำให้มีคำถามว่า เงิน 1 ล้านล้านบาทที่รัฐกู้มานั้นจะยังเหลือพอสำหรับการช่วยเหลือประชาชนในสถานการณ์ปัจจุบันหรือไม่ 

“คลัง” ยืนยันงบยังเหลือ

ดร.กุลยา ตันติเตมิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ระบุว่า ปัจจุบันคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติโครงการสำหรับกู้เงินตาม พ.ร.ก.เงินกู้ 1 ล้านล้านบาท ไปแล้ว 7.6 แสนล้านบาท ยังเหลือวงเงินกู้อีก 2.4 แสนล้านบาท โดย พ.ร.ก.เงินกู้ 1 ล้านล้านจะครบกำหนดในวันที่ 30 กันยายน 2564 ดังนั้นการอนุมัติใช้งบประมาณต้องทำให้เสร็จก่อนเวลาดังกล่าว และหากรัฐบาลมีความจำเป็นต้องใช้เงินกู้เพิ่ม ก็ต้องออกกฎหมายเพิ่มเติมหรือกฎหมายใหม่

นอกจากนี้รัฐบาลยังมีเงินจากงบประมาณรายจ่าย ปี 2564 ในส่วนของเงินสำรองจ่ายเพื่อการฉุกเฉินและจำเป็นอีก 99,000 ล้านบาท และยังมีงบที่โยกมาเพื่อใช้สำหรับสถานการณ์โควิด-19 อีก 4.3 หมื่นล้านบาท ดังนั้นรัฐบาลจึงยังมีเงินเหลือเพียงพอที่จะนำมาใช้ช่วยเหลือประชาชนได้หากจำเป็น

รัฐเตรียมแผนกระตุ้นเศรษฐกิจ

ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ให้ข้อมูลว่า

แผนกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ

หลายฝ่ายจี้รัฐช่วยเยียวยาประชาชน

มีข้อเสนอแนะจากหลายฝ่ายเกี่ยวกับการนำงบประมาณจาก พ.ร.ก.เงินกู้  1 ล้านล้านที่ยังเหลืออยู่ มาใช้เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชานและกระตุ้นเศรษฐกิจ

นายบุรินทร์ อดุลวัฒนะ หัวหน้าทีมนักเศรษฐศาสตร์ ธนาคารกรุงเทพ : 

รัฐบาลจำเป็นต้องเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากโควิด-19  โดยวงเงินกู้ของรัฐบาลจาก พ.ร.ก. ยังเหลืออยู่กว่า 2.4 แสนล้านบาท เพียงพอในการรับมือกับสถานการณ์โควิดระลอก 3 ขณะที่หนี้สาธารณะของประเทศอยู่ที่ระดับ 54% ยังสามารถกู้ได้อีกมาก ดังนั้นรัฐบาลต้องกล้าใช้เงิน ต้องอัดฉีดเงินเข้าระบบ 

นายนณริฏ พิศลยบุตร  นักวิชาการอาวุโส ด้านนโยบายเศรษฐกิจส่วนรวมและเศรษฐศาสตร์ประยุกต์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) 

รัฐบาลจำเป็นต้องนำวงเงิน 2.4 ล้านล้านบาทมาใช้แก้ปัญหา โดยใช้ส่วนหนึ่งเยียวยากลุ่มที่ได้รับผลกระทบ ประมาณ 30 ล้านคน อย่างน้อยควรจะเป็นร้อยละ 50 – 60% ของค่าแรงขั้นต่ำ หรือประมาณ 3,900 – 4,600 บาทต่อเดือน ระยะเวลา 3 – 4 เดือน ส่วนอีกก้อนหนึ่งเป็นการลงทุนเพื่อฟื้นฟูโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของประเทศหลังสถานการณ์คลี่คลายลง

นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย

รัฐบาลต้องเร่งเยียวยาประชาชนโดยด่วน การระบาดครั้งนี้ทำท่าจะรุนแรงและยืดเยื้อ แม้จะไม่ประกาศล็อกดาวน์ แต่การห้ามกิจกรรมหลายอย่างก็ไม่ต่างจากล็อกดาวน์แล้ว ดังนั้นจึงขอเสนอให้เยียวยาประชาชนเดือนละ 5,000 บาท จำนวน 3 เดือน โดยจ่ายเป็นเงินสด ไม่เอาแบบโอนเงินเหมือนครั้งที่ผ่านมา ซึ่งแม้ว่าหนี้รัฐบาลจะพุ่งสูง แต่ต้องเอาประชาชนให้รอดก่อน

การออกมายืนยันของภาครัฐว่าเงินกู้ 1 ล้านล้านยังมีเหลือ และสามารถนำมาใช้ช่วยเหลือประชาชนหากจำเป็นได้ เป็นข้อมูลที่ ข่าวมีค่า เห็นว่าช่วยสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้ในระดับหนึ่ง อย่างไรก็ตาม งบประมาณส่วนที่เหลืออยู่นี้ จำเป็นต้องวางแผนและใช้ให้คุ้มค่าที่สุด เพราะหากนำไปใช้แต่ไม่สามารถช่วยเหลือประชาชนหรือกระตุ้นเศรษฐกิจได้ตามเป้า อาจทำให้ประเทศประสบปัญหาเมื่อเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดอีกในอนาคตได้

ที่มา :

Exit mobile version