Mekha News (มีค่านิวส์) : เว็บไซต์ข่าว ที่จะนำเสนอข่าวสารเพื่อรักษาสิทธิให้กับคุณ

“กองทุนเพื่อผู้รับงานไปทำที่บ้าน” อีกแหล่งทุนที่ควรรู้จัก

ข่าวมีค่า ชวนไปทำความรู้จักกับ “กองทุนเพื่อผู้รับงานไปทำที่บ้าน” ที่มีแหล่งเงินทุนที่ผู้รับงานไปทำที่บ้านสามารถยื่นกู้เพื่อนำมาใช้เป็นทุนในการทำงานได้ เพราะการรับงานไปทำที่บ้าน ไม่ว่าจะในรูปแบบบุคคลหรือกลุ่มบุคคล เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่สร้างงาน สร้างรายได้ ให้กับคนมากมายในสังคมในยุคปัจจุบัน  

 “การรับงานไปทำที่บ้าน” คือการรับงานจากนายจ้างไปผลิต ประกอบ บรรจุ ซ่อมหรือแปรรูปสิ่งของที่บ้านของลูกจ้าง หรือสถานที่อื่นๆ ที่ไม่ใช่สถานประกอบการของนายจ้าง และได้รับค่าจ้างตามที่ตกลงกันไว้ 

ในปัจจุบัน การรับงานไปทำที่บ้านได้กลายเป็นอาชีพหลักของหลายๆ คน โดยมีทั้งที่ทำในนามบุคคล ไปจนถึงการรวมตัวกันเป็นกลุ่ม และด้วยการขยายตัวของงานในลักษณะดังกล่าว กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน จึงได้ก่อตั้ง “กองทุนเพื่อผู้รับงานไปทำที่บ้าน” ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้รับงานไปทำที่บ้านสามารถกู้เงินจากแหล่งเงินทุนที่ถูกกฎหมาย มีอัตราดอกเบี้ยต่ำ เพื่อนำไปซื้อวัตถุดิบหรืออุปกรณ์การผลิต หรือขยายการผลิตเพื่อสร้างอาชีพและสร้างรายได้ 

โดยในปี 2563 กระทรวงแรงงานได้จัดสรรเงินวงเงินรวม 7,000,000 บาท เพื่อปล่อยกู้ให้กับผู้รับงานไปทำที่บ้านผ่านกองทุนดังกล่าว ซึ่งนับตั้งแต่เปิดให้ยื่นกู้ยืมได้ ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2563 ที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน มีการปล่อยกู้ไปแล้วทั้งสิ้นจำนวน 20 กลุ่ม เป็นเงินทั้งสิ้น 3,210,000 บาท 

ทั้งนี้จากการที่กองทุนยังมีวงเงินคงเหลือสำหรับผู้รับงานไปทำที่บ้านที่ต้องการกู้ยืมเงินอีก 3,790,00 บาท เงินในส่วนนี้จึงถือเป็นเงินทุนที่น่าสนใจสำหรับผู้รับงานไปทำที่บ้าน ที่จะหาแหล่งเงินทุนสำหรับใช้ในการทำงาน โดยหากสามารถขอกู้เงินได้ เงินทุนที่ได้จะปลอดดอกเบี้ยนาน 12 เดือน และในงวดที่ 13 เป็นต้นไปจนสิ้นสุดสัญญา คิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 3 ต่อปี 

สำหรับคุณสมบัติของผู้รับงานไปทำที่บ้าน ที่ตรงตามเงื่อนไขในการขอกู้เงินจากกองทุนเพื่อผู้รับงานไปทำที่บ้าน ประกอบด้วย 

ประเภทบุคคล

ประเภทกลุ่มบุคคล

คุณสมบัติของผู้รับงานไปทำที่บ้าน

ผู้รับงานไปทำที่บ้านที่สนใจเงินกู้ดังกล่าว สามารถยื่นคำขอกู้ได้ตั้งแต่บัดนี้ จนถึงวันที่ 30 กันยายน 2564 ที่กรมการจัดหางาน และสำนักงานจัดหางานจังหวัดทุกจังหวัด หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วนกระทรวงแรงงาน โทร 1506 กด 2

ที่มา :

Exit mobile version