Mekha News (มีค่านิวส์) : เว็บไซต์ข่าว ที่จะนำเสนอข่าวสารเพื่อรักษาสิทธิให้กับคุณ

รู้จัก “ศบค.” หน่วยงานสำคัญรับมือโควิด-19

ข่าวมีค่า นำเสนอเรื่องราวของ ศบค. หรือ ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่รัฐบาลจัดตั้งขึ้นโดยอาศัยการระดมกำลังจากหน่วยงานต่างๆ เพื่อทำหน้าที่เป็นหน่วยงานหลักที่จะประเมินสถานการณ์และกำหนดมาตรการต่างๆ เพื่อรับมือกับการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19  

ที่มา

ศบค. หรือ ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) เป็นหน่วยงานที่ภาครัฐจัดตั้งขึ้น โดยในคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 76/2563 เรื่อง การจัดตั้งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) อธิบายถึงการจัดตั้งศูนย์ดังกล่าวว่า “เพื่อยกระดับการบริหารจัดการสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในประเทศให้อยู่ในวงจำกัด ลดผลกระทบต่อภาวะสุขภาพของประชาชน เศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของประเทศ สร้างความตระหนักรู้เท่าทันและเตรียมความพร้อมในการรับมือกับการระบาดของโรคอย่างมีประสิทธิภาพตามมาตรฐานสากล ตลอดจนประเมินสถานการณ์เพื่อการบังคับใช้กฎหมายให้ตรงกับความรุนแรงของปัญหา และวางมาตรการป้องกัน ควบคุม และช่วยเหลือเยียวยาผู้ไดรับความเดือดร้อนอย่างเหมาะสม”

พัฒนาการของ ศบค.

นับตั้งแต่ก่อตั้ง ศบค. มีการปรับเปลี่ยนรายละเอียดการบริหารงานและหน่วยงานในสังกัดมาแล้วหลายครั้ง ซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญๆ มีดังต่อไปนี้

12 มีนาคม 2563 

26 มีนาคม 2563 

27 มีนาคม 2563 

10 เมษายน 2563 

15 เมษายน 2563 

21 เมษายน 2563 

1 ตุลาคม 2563 

25 ธันวาคม 2563 

โครงสร้าง ศบค.ในปัจจุบัน

ศบค.ในปัจจุบัน มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และมีหน่วยงานต่างๆ ใน ศบค.รวม 7 หน่วยงาน ได้แก่

  1. สำนักงานเลขาธิการ มีรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมืองที่นายกรัฐมนตรีมอบหมายเป็นหัวหน้าสำนักงาน
  2. ศูนย์ปฏิบัติการ ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศปก.ศบค.) มีเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติเป็นผู้อำนวยการศูนย์
  3. ศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณีโรคติดเชื้อโควิด-19 มีปลัดกระทรวงสาธารณสุขเป็นหัวหน้าศูนย์
  4. ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 กระทรวงมหาดไทย มีปลัดกระทรวงมหาดไทยเป็นหัวหน้าศูนย์
  5. ศูนย์ปฏิบัติการมาตรการเดินทางเข้าออกประเทศและการดูแลคนไทยในต่างประเทศ มีปลัดกระทรวงการต่างประเทศเป็นหัวหน้าศูนย์
  6. ศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง มีผู้บัญชาการทหารสูงสุดเป็นหัสหน้าศูนย์
  7. ศูนย์ปฏิบัติการด้านนวัตกรรมการแพทย์ และการวิจัยและพัฒนา มีผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติเป็นหัวหน้าศูนย์

หน่วยงานอื่นๆ ใน ศบค.

นอกจากหน่วยงานหลักทั้ง 7 หน่วยงานแล้ว ศบค.ยังมีคณะทำงานที่อยู่ในสังกัดดังต่อไปนี้

ศปก.ศบค. “ศบค.ชุดเล็ก”

ศปก.ศบค. เป็นองค์กรปฏิบัติการของ ศบค. โดยมีหน้าที่ดังต่อไปนี้

โครงสร้าง ศบค. ในปัจจุบัน

โดย ศปก.ศบค.มีหน้าที่กลั่นกรองแนวทางดำเนินการสำหรับสถานการณ์ต่างๆ ก่อนเสนอให้ ศบค.ชุดใหญ่พิจารณาเห็นชอบ ยกตัวอย่างเช่น ศปก. ศบค. เป็นผู้เสนอมาตรการผ่อนคลายต่างๆ ที่มีการประกาศใช้ในช่วงที่ผ่านมา หรือการที่ ศปก.ศบค.มีมติให้คงพื้นที่สถานการณ์ (พื้นที่ควบคุม, พื้นที่เฝ้าระวังสูง, พื้นที่เฝ้าระวัง) ตามเดิม หรือยังไม่ประกาศพื้นที่สีแดง (พื้นที่ควบคุมสูงสุด) ตามข้อเสนอของกระทรวงสาธารณสุขในช่วงก่อนเทศกาลสงกรานต์ ก่อนที่จะมีการรับเปลี่ยนในภายหลัง เป็นต้น 

ข่าวมีค่า เล็งเห็นถึงความพยายามของภาครัฐที่มีการจัดตั้ง ศบค.ขึ้นมาอย่างรวดเร็ว นับตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาของโรคโควิด-19 รมทั้งมีการปรับเปลี่ยนหน่วยงานในสังกัดและการดำเนินการให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นมาโดยตลอด อย่างไรก็ตาม หากพิจาณาจากผลการทำงานในหลายๆ ด้านที่น่าจะมีผลลัพธ์ที่ชัดเจนกว่านี้ ทำให้หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะมีคนตั้งคำถามว่าการทำงานของ ศบค. มีประสิทธิภาพสมกับการที่ระดมกำลังจากหน่วยงานต่างๆ เข้ามาทำงานหรือไม่ 

ข้อมูล ณ วันที่ 26 เมษายน 2564

ที่มา : 

Exit mobile version