Site icon Mekha News (มีค่านิวส์) : เว็บไซต์ข่าว ที่จะนำเสนอข่าวสารเพื่อรักษาสิทธิให้กับคุณ

ทำไมนายกรัฐมนตรี ต้อง โอนอำนาจ 31 พรบ.

ทำไมนายกรัฐมนตรี ต้อง โอนอำนาจ 31 พรบ.

มีค่านิวส์ นำรายละเอียดของการ “ประกาศ เรื่อง การกำหนดอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีตามกฎหมายเป็นอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี (ฉบับที่ 3)” มานำเสนอ หลังจากที่คณะรัฐมนตรี มีมติเห็นชอบให้โอนอำนาจตามกฎมายของพระราชบัญญัติจำนวน 31 ฉบับ ให้มาอยู่ในอำนาจหน้าที่ของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี

ที่มา

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี มีมติเห็นชอบ “ประกาศ เรื่อง การกำหนดอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีตามกฎหมายเป็นอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี (ฉบับที่ 3)” ซึ่งมีสาระสำคัญคือ ให้บรรดาอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงตามกฎหมาย หรือที่เป็นผู้รักษาการตามกฎหมาย หรือที่มีอยู่ตามกฎหมาย โอนมาเป็นอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีเป็นการชั่วคราว

กฎหมายที่โอนมาเป็นอำนาจของนายกรับมนตรี

            กฎหมายที่จะโอนอำนาจหน้าที่จากกระทรวงต่างๆ มาอยู่ที่นายกรัฐมนตรี ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจำนวน 31 ฉบับ ได้แก่

  1. พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558
  2. พระราชบัญญัติยา พ.ศ.2510
  3. พระราชบัญญัติความมั่นคงด้านวัคซีนแห่งชาติ พ.ศ.2561
  4. พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช 2456
  5. พระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ.2497
  6. พระราชบัญญัติการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พ.ศ.2560
  7. พระราชบัญญัติการแพทย์ฉุกเฉิน พ.ศ.2551
  8. พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไชเบอร์ พ.ศ. 2562
  9. พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535
  10. พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522
  11. พระราชบัญญัติควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ.2542
  12. พระราชบัญญัติควบคุมโภคภัณฑ์ พ.ศ.2495
  13. พระราชบัญญัติควบคุมยุทธภัณฑ์ พ.ศ.2530
  14. พระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ พ.ศ.2551
  15. พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522
  16. พระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ.2551
  17. พระราชบัญญัติเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ พ.ศ.2558
  18. พระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ.2550
  19. พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2533
  20. พระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ.2522
  21. พระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ.2497
  22. พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ.2535
  23. พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550
  24. พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2544
  25. พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ.2542
  26. พระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ. 2509
  27. พระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ.2541
  28. พระราชบัญญัติสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ พ.ศ.2559
  29. พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545
  30. พระราชบัญญัติองค์การเภสัชกรรม พ.ศ.2509 และ
  31. พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522

ทำไมต้องโอนอำนาจ?

ประกาศดังกล่าวเป็นไปเพื่อให้การแก้ไขสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยจะเป็นการโอนอำนาจเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการอนุญาต อนุมัติ สั่งการ บังคับบัญชา หรือช่วยในการป้องกัน แก้ไข ปราบปราม ระงับยับยั้งในสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือฟื้นฟูช่วยเหลือประชาชน ซึ่งเดิมอยู่ในความรับผิดชอบของรัฐมนตรี ให้ขึ้นอยู่กับนายกรัฐมนตรีทั้ง 31 ฉบับ

ยกเลิกประกาศฉบับก่อนหน้า

            การออกประกาศดังกล่าวเป็นไปตามข้อเสนอของสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ ในฐานะศูนย์ปฏิบัติการศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19  (ศปก.ศบค.) ที่เสนอให้ยกเลิกประกาศ เรื่อง การกำหนดอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีตามกฎหมายเป็นอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ.2563 และให้คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างประกาศฉบับใหม่นี้ขึ้นมาทดแทน

“โอนอำนาจให้นายก” ไม่ใช่ครั้งแรก

            ครั้งนี้ถือเป็นครั้งที่ 3 ที่รัฐบาลตัดสินใจโอนอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีตามกฎหมายมาอยู่กับนายกรัฐมนตรี โดยการออกประกาศทั้งสองครั้งก่อนหน้า มีรายละเอียดดังนี้

  1. ประกาศ เรื่อง การกำหนดอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีตามกฎหมายเป็นอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี

2. ประกาศ เรื่อง การกำหนดอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีตามกฎหมายเป็นอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี (ฉบับที่ 2)

การโอนอำนาจตามระราชบัญญัติถึง 31 ฉบับให้มาอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี เป็นสิ่งที่ ข่าวมีค่า มองว่าในด้านหนึ่งเป็นการดึงอำนาจการใช้กฎหมายต่างๆ มาอยู่ในมือนายกรัฐมนตรี เพื่อให้การสั่งการละการดำเนินการในหลายเรื่องรดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่อีกด้านหนึ่ง การ “รวบอำนาจ” มาไว้ที่นายกรัฐมนตรี ก็เป็นสิ่งที่ควรต้องชี้แจงอย่างชัดเจน เพื่อให้ประชาขนได้เข้าใจถึงความจำเป็นที่ต้องใช้วิธีการดังกล่าว

ที่มา :

Exit mobile version