Mekha News (มีค่านิวส์) : เว็บไซต์ข่าว ที่จะนำเสนอข่าวสารเพื่อรักษาสิทธิให้กับคุณ

ศบค.ยกระดับ 6 จว. เป็น “พื้นที่สีแดงเข้ม” ยกระดับพื้นที่ควบคุมป้องกัน

ภายหลังการประชุม ประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ผ่านระบบ VDO Conference ที่ตึกสันติไมตรี (หลังนอก) ทำเนียบรัฐบาล โดยพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชานายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในฐานะผู้อำนวยการ ศบค. เป็นประธาน แล้วเสร็จ นายแพทย์ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษก ศบค. ระบุที่ประชุม มีมติปรับระดับพื้นที่ จากเดิมพื้นที่ ควบคุมสูงสูด หรือ สีแดง เป็น พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด หรือ สีแดงเข้ม เนื่องจาก เนื่องจากมีการะบาดในชุมชน มีผู้ป่วยมากกว่า 100 รายต่อวัน ใน 1 สัปดาห์ ส่วนพื้นที่พื้นที่ควบคุมสูงสุด หรือ สีแดง มีจำนวนผู้ป่วยมากกว่า 10 รายต่อวันใน 1 สัปดาห์ รวมถึงมีจังหวัดพื้นที่ที่ติดกับพื้นที่แพร่ระบาดอย่างน้อยมากกว่า 1 จังหวัด และจังหวัดที่ติดกับชายแดน และเคยมีผู้ติดเชื้อเดินทางเข้ามา ที่ประชุมเห็นชอบยกระดับมาตรการป้องกันและควบคุมโควิด-19 โดยกำหนด

ศบค.ยกระดับ 6จว. เป็น "พื้นที่สีแดงเข้ม" ยกระดับพื้นที่ควบคุมป้องกัน

1. พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด สีแดงเข้ม มี 6 จังหวัด คือ กรุงเทพฯ นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ เชียงใหม่ และชลบุรี

โดยห้ามการจัดกิจกรรมซึ่งมีการรวมกลุ่มของบุคคลที่มีจำนวนรวมกันมากกว่า 20 คน โดยมีมาตรการดังนี้

2. พื้นที่ควบคุมสูงสุด สีแดง มีจำนวน 45 จังหวัด จากเดิม 18 จังหวัด ประกอบด้วย กาญจบุรี กำแพงเพชร ขอนแก่น จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชัยภูมิ เชียงราย ตาก ตรัง นครปฐม นครราชสีมา นครศรีธรรมราช นครสวรรค์ นราธิวาส น่าน ประจวบคีรีขันธุ์ ปราจีนบุรี ปัตตานี อยุธยา พัทลุง พิจิตร พิษณุโลก เพชรบุรี เพชรบูรณ์ ภูเก็ต มหาสารคาม ยะลา ร้อยเอ็ด ระนอง ระยอง ราชบุรี ลพบุรี ลำปาง ลำพูน ศรีสะเกษ สระแก้ว สงขลา สมุทรสาคร สระบุรี สุโขทัย สุพรรณบุรี สุราษฎร์ธานี อ่างทอง อุดรธานี อุบลราชธานี

โดยมีมาตรการ ดังนี้

3. พื้นที่ควบคุม สีส้ม จังหวัด รวม 26 จังหวัด จากเดิม 59 จังหวัด ประกอบด้วย กระบี่ กาฬสินธุ์ ชัยนาท ชุมพร นครนายก นครพนม หนองคาย บึงกาฬ บุรีรัมย์ พังงา พะเยา แพร่ มุกดาหาร แม่ฮ่องสอน ยโสธร เลย สกลนคร สตูล สมุทรสงคราม สิงห์บุรี สุรินทร์ หนองบัวลำภู อุตรดิตถ์ อุทัยธานี อำนาจเจริญ โดยมีมาตรการดังนี้

โดยมาตรการทั้งหมดนี้ จะกำหนดใช้ในวันที่ 1 พ.ค. นี้

อย่างไรก็ตาม ในทุกพื้นที่ และทุกจังหวัดยังคงงดจัดกิจกรรมงานเลี้ยงสังสรรค์ หรืองานรื่นเริงในช่วงเวลานี้ ยกเว้นจัดพิธีตามประเพณี หรือเป็นกิจกรรมที่อยู่ในครอบครัว โดยมีมาตรการป้องกัน และให้จังหวัดกำหนดพื้นที่ย่อยให้เข้มกว่า ศบค.กำหนดได้ ตามสถานการณ์ของจังหวัด และให้ส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐ เจ้าของกิจการหรือผู้ประกอบการภาคเอกชนพิจารณาดำเนินการทำงานที่บ้าน หรือ WHF มาตรการขั้นสูงสุดอย่างน้อย 14 วันเพื่อลดการรวมกลุ่มของบุคคลอันจะเป็นหนทางหนึ่งที่จะลดการแพทยเชื้อได้อย่างเป็นรูปธรรม

สำหรับแผนการจัดหาวัคซีนของคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ โดยวัคซีนล็อตหลักจะทยอยเข้ามาในประเทศ ปลายเดือนพฤษภาคม โดยจะฉีดให้ประชาชนในประเทศ 50 ล้านคน ตั้งแต่เดือนมิถุนายนเป็นต้นไป และคาดว่าจะได้รับการฉีดเข้มสอง อย่างครบถ้วนปลายปี 2564

ทั้งนี้ที่ประชุม ศบค.ให้กลับไปใช้มาตรการเดิมในการกักตัวผู้ที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทย 14 วัน และไม่อนุญาตให้ออกนอกที่พัก และให้มีการตรวจหาเชื้อถึง 3 ครั้ง

ทั้งนี้ปัจจัยเสี่ยงของการติดเชื้อโควิด-19 ในการระบาดของเดือนเมษายนนี้ ข้อมูลถึง 25 เมษายน พบว่าอันดับ 1 9,177 รายหรือร้อยละ 44.3 สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยยืนยันรายกก่อนหน้านี้ โดยอันดับ 2 จากสถานบันเทิง 5,226 รายหรือร้อยละ 25.2

อัพเดทวันที่ 29 เมษายน 2564

Exit mobile version