Site icon Mekha News (มีค่านิวส์) : เว็บไซต์ข่าว ที่จะนำเสนอข่าวสารเพื่อรักษาสิทธิให้กับคุณ

เปิดมาตรการสินเชื่อ สู้ภัย โควิด

เปิดมาตรการสินเชื่อสู้ภัยโควิด

วันที่ 5 พ.ค. 64 มติที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบมาตรการเยียวยารอบใหม่เพื่อบรรเทาผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 ซึ่งมีวงเงินเยียวยาไม่รวมมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ทั้งสิ้น 235,500 ล้านบาท ประกอบด้วยมาตรการและโครงการต่างๆ โดยมาตรการที่เกี่ยวข้องกับด้านการเงินและลูกหนี้มีมาตรการที่น่าสนใจดังต่อไปนี้

มาตรการสินเชื่อสู้ภัยโควิด-19 โดยมีกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ : ผู้มีรายได้ประจำ เช่น พนักงาน/ลูกจ้าง หน่วยงานเอกชนที่มีเงินเดือนประจำ เป็นต้น ผู้ประกอบอาชีพอิสระเช่น ผู้ประกอบการรายย่อย พ่อค้า แม่ค้า หาบเร่แผงลอย เป็นต้น และเกษตรกรรายย่อยหรือลูกจ้างภาคการเกษตรที่มีความจำเป็นต้องใช้ จ่ายเงินฉุกเฉิน ผ่านธนาคารออมสินและธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)

สนับสนุนสินเชื่อวงเงินรวม 20,000 ล้านบาท (ธนาคารออมสิน และ ธ.ก.ส. แห่งละ 10,000 ล้านบาท) คิดอัตราดอกเบี้ยคงที่ (Flat รวมถึง ให้ธนาคารออมสินและ ธ.ก.ส. พิจารณาจัดลําดับความสําคัญของลูกหนี้ ที่ได้รับผลกระทบตั้งแต่มากไปหาน้อย เพื่อดูแลลูกหนี้ในแต่ละกลุ่มได้อย่างเหมาะสม ระยะเวลา ดําเนินงานถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564โดยมีกรอบวงเงินงบประมาณ รัฐบาลชดเชยความเสียหายที่ เกิดจากหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Non-Performing Loans: NPLs) ร้อยละ 100 สำหรับ NPLs ที่ไม่เกินร้อยละ 50 ของสินเชื่อที่อนุมัติทั้งหมด 20,000 ล้านบาท รวมทั้งสิ้นไม่เกิน 10,000 ล้านบาท ทั้งนี้ กระทรวงการคลัง อยู่ระหว่างการเสนอมาตรการดังกล่าวให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาตามขั้นตอน

มาตรการพักชําระหนี้ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ เป็นการให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจ (SFs) ขยายระยะเวลาพักชําระหนี้ให้แก่ลูกค้ารายย่อย ออกไปจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 ตามความสมัครใจ โดยการพักชําระเงินต้นเพื่อลดภาระการชําระหนี้เป็นการชั่วคราว ให้แก่ลูกหนี้ หรือเพื่อนําเงินงวดที่จะต้องชําระหนี้ไปเป็นสภาพคล่องในการดําเนินชีวิตประจําวันหรือเพื่อ การประกอบธุรกิจในช่วงที่มีความไม่แน่นอนสูง โดยวิธีการชําระหนี้ที่พักชําระไว้ดังกล่าวจะต้องไม่เพิ่มภาระ ให้แก่ลูกหนี้มากจนเกินควรเมื่อพิจารณาอัตราดอกเบี้ยตลอดระยะเวลาสัญญาเงินกู้ ซึ่งรวมถึงดอกเบี้ย กรณีที่ SFIs ได้พิจารณาพักชําระไว้ด้วย

นอกจากนี้ ให้ SFts พิจารณาจัดลําดับความสําคัญของลูกหนี้ที่ได้รับ ผลกระทบตั้งแต่มากไปหาน้อย เพื่อดูแลลูกหนี้ในแต่ละกลุ่มได้อย่างเหมาะสม โดยคํานึงถึงประโยชน์ของลูกหนี้ เป็นสําคัญ ทั้งนี้ กระทรวงการคลังจะพิจารณาแนวทางในการช่วยเหลือ SFls ตามความจําเป็นและเหมาะสม ในกรณีที่การดําเนินการดังกล่าวส่งผลกระทบต่อสภาพคล่องหรือฐานะทางการเงินของ SFls

Exit mobile version