Mekha News (มีค่านิวส์) : เว็บไซต์ข่าว ที่จะนำเสนอข่าวสารเพื่อรักษาสิทธิให้กับคุณ

รู้จัก ทราเวลบับเบิล แนวคิดเปิดท่องเที่ยวแบบจับคู่

หลังเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน สำนักข่าว Yonhap ของเกาหลีใต้ รายงานว่า รัฐบาลเกาหลีใต้ กำลังเร่งเจรจาเปิด ทราเวล บับเบิล” กับประเทศไทย และอีกหลายประเทศ โดยไม่ต้องกักตัวนักท่องเที่ยว ที่ฉีดวัคซีนครบโดสแล้ว และคาดว่าจะเริ่มได้ตั้งแต่ต้นเดือนกรกฎาคมนี้  วันนี้ มีค่า นิวส์ เลยรวบรวมข้อมูลมาให้ว่า ทราเวล บับเบิล คืออะไร แล้วรัฐบาลไทย เตรียมเปิดท่องเที่ยวจับคู่กับประเทศไหนบ้าง

ความหมาย ทราเวล บับเบิล (Travel Bubble)

แนวคิด ทราเวล บับเบิล คือ การเชื่อมต่อการเดินทางระหว่างสองประเทศ ที่สามารถจัดการเรื่องโรค COVID-19 ได้ดีเท่าๆกัน โดยพิจารณาสถานการณ์การระบาดในประเทศนั้น เช่น ผ่อนคลายการควบคุมโรคหรือยัง  มีการควบคุมการเดินทางระหว่างประเทศอยู่ไหม และความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจต่อกัน

ด้วยการทำเป็นข้อตกลงร่วมกัน ในลักษณะทวิภาคี (Bilateral Agreement) เพื่อกำหนดจำนวนคนที่อนุญาต

ภายใต้การจัดการพิเศษ 5 ด้าน ได้แก่

1.การขอวีซ่า การโดยสารเครื่องบิน (Flights)

2.ที่พัก (Accommodations)

3.การเยี่ยมเยือน (Visits)

4.การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล (Interaction)

5.ผู้รับประกัน (Guarantor)

กลุ่มเป้าหมาย ของแนวคิด ทราเวล บับเบิล (Travel Bubble)

แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ

1.กลุ่มนักธุรกิจ โดยต้อง

– เป็นผู้ที่มีศักยภาพทางการใช้จ่ายโดยเฉลี่ยสูงกว่านักท่องเที่ยวทั่วไป

– สามารถตัดสินใจเดินทางได้ทันทีเป็นลำดับต้นๆ

– เป็นการสร้างและขยายโอกาสจากนโยบายการส่งเสริมกาค้า การลงทุน

– มีหนังสือรับรองจากบริษัท

2.กลุ่มผู้รับบริการตรวจรักษาทางการแพทย์ โดยต้อง

– เป็นผู้ที่มีศักยภาพทางการใช้จ่ายโดยเฉลี่ยสูงกว่านักท่องเที่ยวทั่วไป

– มีความจำเป็นในการเดินทางเป็นลำดับต้นๆ

– มีฐานตลากลุ่มรักษาสุขภาพจากประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะเมียนมา กัมพูชา

– มีหนังสือรับรองจากโรงพยาบาล

การที่จะทำ ทราเวล บับเบิล (Travel Bubble) ต้องพิจารณาประเด็นสำคัญ ดังนี้

1.ต้องเลือกนักท่องเที่ยวกลุ่มเป้าหมาย กำหนดจำนวนนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศว่าแต่ละเดือนจะให้เข้ามาได้เท่าไร มีกี่เที่ยวบิน และจากเส้นทางใด 

2.สร้างภาพลักษณ์การท่องเที่ยวในยุค COVID-19 และ Post-COVID-19 ชูจุดแข็งประเทศด้านสาธารณสุขและการฟื้นความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งท่องเที่ยว หลังจากที่มีการล็อกดาวน์มาระยะหนึ่ง

3.กำหนด Safe Zone for Tourism เมืองหลัก เมืองรองที่เต็มใจรับนักท่องเที่ยว เลือกแหล่งท่องเที่ยว

4.การเช็คอินและเช็คเอาท์ก่อนมาตรวจรับรอง COVID-free มีใบรับรองแพทย์รับรอง Fit to Fly ต้องซื้อประกันสุขภาพที่รับรอง COVID-19 มาถึงมี Rapid Test 

5.วางมาตรการ Saft Hospitality Service โรงแรม ร้านอาหาร และแหล่งท่องเที่ยว 

6.ต้องโหลดแอพพลิเคชั่นติดตามตัว หรือ หนังสือเดินทางสุขภาพ (Digital Health Passport Application : DHP)  

6.1 หนังสือเดินทางสุขภาพ (Digital Health Passport Application : DHP)  ช่วยอะไรบ้าง

– บันทึกข้อมูลสุขภาพ

– ช่วยในการเฝ้าระวังและประเมินความเสี่ยง

– แจ้งระดับความเสี่ยง ตั้งแต่ระดับปกติถึงเสี่ยงสูง พร้อมยืนยันความปลอดภัยผู้เดินทาง

– เสริมสร้างความมั่นใจให้ทั้งผู้ให้และผู้รับบริการ

– ไม่ละเมิดสิทธิการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล

6.2 ขั้นตอนของการใช้งาน หนังสือเดินทางสุขภาพ (Digital Health Passport Application : DHP) แบ่งเป็น

ก่อนเดินทางมาประเทศไทย

– ดาวน์โหลดแอปพลิชั่น

– ลงทะเบียนออนไลน์

– จอง Test on Arrival และซื้อประกันโควิด

– เตรียมหนังสือรับรองจากหน่วยงานในประเทศไทย

– เตรียมใบรับรองแพทย์ (ล่วงหน้าตามจำนวนวันที่ สธ.กำหนด)

ระหว่างเดินทางมาประเทศไทย

– สแกน QR Code เพื่อยืนยันข้อมูลสุขภาพ

– ยื่นใบรับรองแพทย์ และหนังสือรับรองจากหน่วยงานในประเทศไทย

– Test on Arrival

– ยินยอมให้มีการติดต่อกรณีมีความเสี่ยง / พบหารติดเชื้อ

– เปิดใช้แอปพลิเคชั่น สแกน QR Code เพื่อเข้าพื้นที่ต่างๆ

หลังเดินทางออกจากประเทศไทย

– สแกน QR Code เพื่อยืนยันข้อมูลสุขภาพ

– Test on Departure

เป้าหมายของประเทศไทย ที่จะจับมือด้านการท่องเที่ยวกับประเทศต่างๆ อาทิ

1.จีน รวมฮ่องกง และมาเก๊า มีการหารือกับภาครัฐระดับเมืองของจีน และสำนักงานพาณิชย์ของฮ่องกง แสดงความประสงค์ที่จะหารือกับฝ่ายไทยต่อ เพื่อให้เกิด Travel Bubble ระหว่างกัน

2.เวียดนาม มีการหารือแล้วกับ Vietnam National Administration of Tourism (VNAT) ซึ่งแสดงความสนใจที่จะหารือกับฝ่ายไทยต่อ

3.ประเทศอื่นๆ ได้แก่ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ลาว เมียนมา กัมพูชา และตะวันออกกลาง ซึ่งอยู่ระหว่างหารือ โดยสำนักงาน ททท.ในต่างประเทศ

ทั้งนี้ อาจเริ่มพร้อมกันหลายประเทศในลักษณะเป็น Group Bubble ก็ได้

ที่มา : facebook.com/ThaigovSpokesman

Exit mobile version