Binge Eating Disorder (บิ้นจ์-อีทติ้ง) สามารถพบได้ประมาณ 1-3% พบบ่อยในช่วงอายุ 12-25 ปี เพศหญิงมีความเสี่ยงมากกว่าเพศชาย 1.5-6 เท่า
อาการ
มีหลายช่วงเวลาที่มีพฤติกรรมกินอาหารปริมาณมากกว่าคนทั่วไป โดยรู้สึกควบคุมตัวเองไม่ได้ว่าควรหยุดกิน หรือควรกินมากเท่าไหร่
ในช่วง binge มีอาการเหล่านี้ตั้งแต่ 3 อาการขึ้นไป
- กินเร็วกว่าปกติมาก
- กินจนรู้สึกแน่นไม่สบายตัว
- กินเยอะมาก ทั้งที่ไม่รู้สึกหิว
- กินคนเดียวเพราะรู้สึกอายที่กินเยอะ
- รู้สึกรังเกียจตัวเอง ซึมเศร้า รู้สึกผิดมากหลังจากกิน
โดยมีพฤติกรรม binge อย่างน้อย 1 ครั้ง/สัปดาห์ เป็นเวลา 3 เดือน และมีผลกระทบอย่างมากกับการใช้ชีวิตประจำวัน
การรักษา
ควรปรึกษาจิตแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญหากสงสัยว่าตนเองเริ่มมีอาการ รักษาด้วยยา ควบคู่ไปกับการทำจิตบำบัด เพื่อประสิทธิภาพในการรักษาที่ดีที่สุด
Binge Eating Disorder จัดอยู่ในกลุ่มโรคการกินผิดปกติ ซึ่งมี โรคอะนอเร็กเซีย (Anorexia Nervosa) และโรคบูลิเมีย (Bulimia Nervosa) อยู่ในกลุ่มเดียวกัน แต่ Binge Eating Disorder จะไม่มีอาการชดเชยการกินเยอะ เช่น ล้วงคอให้อาเจียน กินยาถ่าย ออกกำลังกายอย่างหักโหม
ที่มา : กรมสุขภาพจิต