Mekha News (มีค่านิวส์) : เว็บไซต์ข่าว ที่จะนำเสนอข่าวสารเพื่อรักษาสิทธิให้กับคุณ

รายงานพิเศษ : โครงการเพิ่มกำลังซื้อ ลดค่าใช้จ่ายประชาชน หวังกระตุ้นเศรษฐกิจ

สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้ประชาชนและเศรษฐกิจของประเทศไทย ได้รับผลกระทบอย่างมาก ทำให้เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2564 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี มีมติเห็นชอบ 4 มาตรการช่วยเหลือประชาชน และหวังกระตุ้นเศรษฐกิจ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ซึ่งเป็นการใช้งบประมาณจาก พ.ร.ก.เงินกู้ 1 ล้านล้านบาท  อ่านข่าวย้อนหลังได้ที่ https://mekhanews.com/2021/06/01/cabinet-knocked-4-measures-to-cure-covid-19/   โดยหนึ่งในมาตรการดังกล่าว คือ  “โครงการเพิ่มกำลังซื้อ”  มีค่า นิวส์ จึงจะพาทุกคนมาทำความรู้จักโครงการนี้

โครงการเพิ่มกำลังซื้อ คือ อะไร?

โครงการที่ช่วยลดภาระค่าครองชีพให้ประชาชน ที่ได้รับผลกระทบของสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ครอบคลุมประชาชนประมาณ 51 ล้านคน และช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจ รักษากำลังซื้อในระบบเศรษฐกิจ จากการเติมเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ จำนวน 473,000 ล้านบาท  อ่านข่าวย้อนหลังได้ที่ https://mekhanews.com/2021/06/01/project-to-increase-purchasing-power/   ประกอบด้วย

1.โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ระยะที่ 3 หรือ “บัตรคนจน” ที่รัฐบาลออกมาเพื่อช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยทั่วประเทศ โดยจะเป็นการจ่ายเพิ่มจากส่วนเดิม ที่ผู้ถือบัตรคนจนได้รับอยู่แล้ว (ยังไม่เปิดลงทะเบียนรอบใหม่ เนื่องจากโควิด-19 แพร่ระบาด) กลุ่มเป้าหมาย 13,650,159 คน วงเงินรวม 16,380 ล้านบาท

วิธีการ คือ รัฐบาลจะโอนเงินช่วยเหลือ เข้าบัตรคนจน ให้ประชาชนผู้ถือบัตร จำนวน 200 บาทต่อคนต่อเดือน เป็นระยะเวลา 6 เดือน ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ถึงธันวาคม 2564 รวมวงเงินไม่เกิน 1,200 บาทต่อคน ตลอดระยะเวลาโครงการ  (ถ้าเดือนไหนเงินคงเหลือ จะไม่สะสมให้ในเดือนถัดไป)  ได้รับสวัสดิการ ดังนี้

– วงเงินจ่ายค่าสินค้าอุปโภคบริโภค / สินค้าเพื่อการศึกษาจากร้านธงฟ้าประชารัฐ และซื้อสินค้าหรือบริการจากร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการคนละครึ่ง เฟส 3 (ใช้แอปฯ ถุงเงินของร้าน สแกนที่บัตร) แบ่งตามรายได้ คือ

ผู้ที่มีรายได้ต่ำกว่า 30,000 บาทต่อปี ได้รับเงินช่วยเหลือ 300 บาทต่อเดือน

ผู้ที่มีรายได้สูงกว่า 30,000 บาทต่อปี แต่ไม่เกิน 100,000 บาท จะได้รับเงิน 200 บาทต่อเดือน

– วงเงินเพิ่มกำลังซื้อ ที่รัฐบาลสนับสนุนให้อีก คนละ 200 บาท

– ค่าเดินทาง ค่ารถโดยสารสาธารณะ ต่อเดือน แบ่งเป็น รถเมล์ รถไฟฟ้า 500 บาท (ใช้ชำระค่าโดยสารด้วยระบบ e-Ticket), รถ บขส. 500 บาท และรถไฟ 500 บาท  (กดเป็นเงินสดไม่ได้)

– ส่วนลดซื้อก๊าซหุงต้ม 45 บาท ต่อ 3 เดือน (3 เดือนใช้ได้ 1 ครั้ง) โดยนำบัตรไปซื้อกับร้านที่ร่วมรายการ (กดเป็นเงินสดไม่ได้) หากไม่ใช้สิทธิภายใน 3 เดือน จะถูกตัดยอดเงินส่วนนี้ไป

– ส่วนลดค่าน้ำประปา 100 บาท ต่อครัวเรือนต่อเดือน สำหรับผู้ที่ลงทะเบียนไว้กับการประปาในพื้นที่ (ตั้งแต่เดือน ต.ค. 2563-ก.ย. 2564) ซึ่งจะต้องใช้น้ำไม่เกินเกณฑ์ที่กำหนด ทั้งนี้ หากผู้ถือบัตรคนจนใช้น้ำประปาเกินวงเงิน ต้องจ่ายเองทั้งหมด

– ส่วนลดค่าไฟฟ้า 230 บาทต่อครัวเรือนต่อเดือน  แบ่งเป็น กรณีใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 50 หน่วย/เดือน ติดต่อกันเป็นระยะเวลา 3 เดือน ให้ใช้สิทธิค่าไฟฟ้าฟรีตามมาตรการปัจจุบัน  แต่กรณีที่ใช้ไฟฟ้าเกิน 50 หน่วย/เดือน ให้ใช้สิทธิตามมาตรการนี้ หากใช้เกินวงเงินที่กำหนด ผู้ถือบัตรต้องจ่ายค่าไฟฟ้าส่วนเกินเองทั้งหมด

– เงินคืนภาษี 5% สำหรับผู้ถือบัตรที่เติมเงินเข้าบัตร แล้วใช้เงินจากบัตรรูดซื้อสินค้าและบริการผ่านร้านธงฟ้าประชารัฐ หรือร้านค้าเอกชนอื่นๆ ที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยรัฐจะคืนภาษี VAT 5% ให้ผ่านบัตร  ซึ่งเงินส่วนนี้สามารถนำบัตรไปกดเป็นเงินสดออกมาใช้ หรือ รูดซื้อของตามร้านธงฟ้าฯ และร้านค้าอื่น ๆ ที่ร่วมโครงการได้ผู้ที่เติมเงินเข้าบัตรคนจน แล้วใช้จ่ายเงินซื้อของจะได้รับเงินภาษี VAT 5% คืนเข้าบัตรตามยอดการใช้จ่าย

– เบี้ยความพิการเพิ่มเติม  200 บาท สำหรับผู้พิการที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี จะได้รับ 1,000 บาทต่อเดือน (จากเดิม 800 บาทต่อเดือน) และผู้พิการที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป และมี “บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ” จะได้รับเบี้ยความพิการเพิ่ม 200 บาทต่อเดือน โดยกรมบัญชีกลางได้กำหนดวันจ่ายเบี้ยความพิการเข้าบัตรสวัสดิการแห่งรัฐในเดือนต่อ ๆ ไป ประมาณวันที่ 22 ของเดือน โดยเริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2563 ถึง กันยายน 2564 โดยจ่ายเข้ากระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Money) ในบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ

คุณสมบัติและเงื่อนไข ของผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ (อัพเดทมกราคม 2564)

– เป็นบุคคลที่มีสัญญาติไทย อายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป

– ว่างงาน หรือ มีรายได้ส่วนตัวไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี

– ไม่มีทรัพย์สินทางการเงิน อาทิ เงินฝากธนาคาร , สลากออมสิน , สลาก ธ.ก.ส. , พันธบัตรรัฐบาล และ ตราสารหนี้ หรือ ถ้ามีทรัพย์สินดังกล่าว จะต้องรวมกันได้ไม่เกิน 100,000 บาท

– รายได้ต่อครัวเรือน เป็นตัวประกอบในการพิจาณา

– ถ้ามีรถยนต์ จะถูกนำมาพิจารณา แต่ถ้ามี 2-3 คัน จะไม่ได้รับสิทธิบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ

วิธีโทรเช็คยอดเงินคงเหลือ บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 

– โทร 02-109-2345

– กด 3 ตรวจสอบยอดเงินคงเหลือ

– กดเลขที่บัตรประชาชน หรือ เลขบัตรสวัสดิการแห่งรัฐตามด้วย #

– กดรหัส ATM 6 หลักตามด้วย #

– รอฟังยอดเงินคงเหลือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐบัตรคนจน

วิธีเช็คยอดเงินคงเหลือ บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ที่ตู้ ATM กรุงไทย

1. ใส่บัตรสวัสดิการแห่งรัฐบัตรคนจน ที่ตู้ ATM กรุงไทย

2. ใส่รหัสบัตร

3. เลือกเมนู บัตรคนจนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ

4. เลือกเมนู ขอดูยอดเงินคงเหลือ เพื่อเช็คยอดเงินในบัตร

2.โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ เช่น ผู้ไม่สามารถเข้าถึงระบบอินเตอร์เน็ต ผู้ไม่มีสมาร์ทโฟน ผู้มีภาวะพึ่งพิง  ประกอบด้วย ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ทุพพลภาพ ผู้ป่วยติดเตียง ที่ไม่สามารถเดินทางไปใช้จ่ายวงเงินสิทธิที่ได้รับผ่านแอปพลิเคชันเป๋าตังได้  กำหนดกลุ่มเป้าหมาย 2,500,000 คน วงเงินรวม 3,000 ล้านบาท  ที่ผ่านมารัฐบาลได้เปิดให้ประชาชนกลุ่มนี้ ลงทะเบียนใช้สิทธิผ่านโครงการ “เราชนะ” (สิ้นสุดโครงการแล้วตั้งแต่ 30 มิถุนายน 2564)

วิธีการ คือ รัฐบาลจะโอนเงินเข้าบัตรประชาชนแบบสมาร์ทการ์ด ให้ประชาชน เดือนละ 200 บาทต่อคน ระยะเวลา 6 เดือน รวมไม่เกิน 1,200 บาท ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ถึงธันวาคม 2564 ซึ่งจะได้รับสวัสดิการ ดังนี้

– วงเงินค่าสินค้าอุปโภค-บริโภค จำนวน 200 บาทต่อคนต่อเดือน โดยนำไปใช้จ่ายกับร้านธงฟ้า และร้านที่เข้าร่วมโครงการคนละครึ่ง เฟส 3

ที่มา : กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง

www.คนละครึ่ง.com

https://www.thansettakij.com/general-news/486278

Exit mobile version