Site icon Mekha News (มีค่านิวส์) : เว็บไซต์ข่าว ที่จะนำเสนอข่าวสารเพื่อรักษาสิทธิให้กับคุณ

ผู้สูงอายุ เฮ! เตรียมรับเงินช่วยเหลือ ขยายโครงการพักหนี้ 6 เดือน คืนเบี้ยยังชีพซ้ำซ้อน

old

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ ครั้งที่ 2/2564 ผ่านระบบ conference (30 ก.ค.64)โดยมีนางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกรัฐบาล เข้าร่วมด้วย ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบ ดังนี้

1.จ่ายเงินช่วยตามบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ให้ผู้สูงอายุ 4.7 ล้านคน

โดยจะจ่ายเงินให้กับผู้สูงอายุ ผู้มีรายได้น้อย ที่มีรายได้ต่ำกว่า 30,000 บาท จำนวน 100 บาท  และมีรายได้ 30,000 ถึงไม่เกิน 100,000 บาท เป็นจำนวน 50 บาท โดยที่ผ่านมาได้มีการค้างการจ่ายเงินให้กับผู้สูงอายุที่มีรายได้น้อย เป็นเวลา 4 เดือน ตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงกันยายน 2563

ที่ประชุมมีมติให้จ่ายเงินย้อนหลังให้กับผู้สูงอายุที่ค้างจ่ายอยู่จำนวน 4,700,000 รายทั่วประเทศ และมีมติเห็นชอบให้จ่ายเงินให้กับผู้สูงอายุที่มีรายได้น้อยที่มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐในปี 2564 โดยให้จ่ายเป็นเวลา 1 ปี รวม 6 งวด โดยจ่ายเดือนเว้นเดือน ซึ่งมีอยู่จำนวน 4,700,000 ราย

2.สั่งคืนเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุซ้ำซ้อน ซึ่งเป็นประเด็นก่อนหน้านี้

สำหรับผู้สูงอายุที่รับเงินไปแล้วจะทำอย่างไร ได้มีการถามไปยังกฤษฎีกา ได้ตอบกลับมาแล้วว่า ให้สามารถดำเนินการได้ ถ้าผู้สูงอายุท่านใดจ่ายเงินกลับคืนมาให้จ่ายกลับไปยังผู้สูงอายุ  โดยให้หน่วยงานที่รับผิดชอบเกี่ยวข้องจ่ายเงินคืนไปให้ผู้สูงอายุ

สำหรับการดำเนินการกรณีเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุในอนาคต ได้มีการตั้งอนุกรรมการชุดหนึ่ง เพื่อพิจารณาดำเนินการให้เสร็จสิ้นโดยเร็วภายใน 1 เดือน ตามที่กฤษฎีกาแนะนำมาเบื้องต้น จากนั้นจะนำเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีต่อไป สำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องกับผู้ที่รับเบี้ยยังชีพซ้ำซ้อนมีอยู่ 15,000 ราย

3.ขยายโครงการพักหนี้คนแก่อีก 6 เดือนถึง มี.ค.65

ก่อนหน้านี้มีการจัดโครงการชำระหนี้ ให้กับผู้สูงอายุ ที่เป็นหนี้กองทุนผู้สูงอายุและจะครบกำหนดวันที่ 30 กันยายน 2564 ที่ประชุมมีมติให้ต่ออายุพักชำระหนี้ผู้สูงอายุไปอีกหกเดือนจนถึงเดือนมีนาคมปี 2565

นอกจากนี้ ที่ประชุมให้ความเห็นชอบแผนปฏิบัติการผู้สูงอายุระยะยาว ตั้งแต่ปี 2566-2580 ที่จะเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไปด้วย ซึ่งประกอบแผนฯ ย่อย คือ 1.เตรียมความพร้อมของประชากรก่อนวัยสูงอายุ 2.ยกระดับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุทุกมิติอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม 3.ปฏิรูปและบูรณาการระบบบริหารเพื่อรองรับสูงวัยอย่างมีคุณภาพ 4.เพิ่มศักยภาพการวิจัยการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมรองรับสังคมสูงวัย

Exit mobile version