ตามที่คณะรัฐมนตรี มีมติเห็นชอบมาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ปกครองและนักเรียนด้านค่าใช้จ่ายทางการศึกษาช่วงโควิด-19 แพร่ระบาด จำนวน 2,000 บาทต่อนักเรียน 1 คน ตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล จนถึง ม.6, ระดับอาชีวศึกษา ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) รวมทั้งสิ้น 11 ล้านคน ภายใต้กรอบวงเงิน 22,000 ล้านบาท อ่านย้อนหลังได้ที่ https://mekhanews.com/2021/08/16/moe-confirms-to-pay-2000-baht-to-parents-in-7-days-as-soon-as-the-budget-is-received/
ซึ่งผู้ปกครองสามารถตรวจสอบสิทธิเงินเยียวยา 2,000 บาท ผ่านทางออนไลน์ได้แล้ว มีค่า นิวส์ จึงมีวิธีตรวจสอบสิทธิมาฝากค่ะ มีขั้นตอน ดังต่อไปนี้
นักเรียนในสถานศึกษาสังกัด สพฐ.
1.คลิกเข้าเว็บไซต์ https://student.edudev.in.th
2.กรอกเลขประจำตัวนักเรียน
3.กรอกรหัสให้ตรงตามรูปที่กำหนด
4.จากนั้นกดปุ่มค้นหาเพื่อตรวจสอบข้อมูล จากนั้นระบบจะขึ้นว่า มีสิทธิ หรือ ไม่มีสิทธิ
หมายเหตุ : ข้อมูลการมีตัวตน เป็นข้อมูล ณ วันที่ 25 มิ.ย. 2564 จากระบบนักเรียนรายบุคคล (Data Management Center: DMC) ศูนย์พัฒนาระบบข้อมูลทางการศึกษา สำนักนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน สพฐ.
นักเรียนโรงเรียนเอกชน ตรวจสอบสิทธิ 2 ช่องทาง ดังนี้
1.ตรวจสอบสิทธิที่เว็บไซต์ https://regis-test.opec.go.th/ จะมี Server ให้เลือกถึง 5 Server ตรงนี้เลือกอันไหนก็ได้ค่ะ จะปรากฏหน้าต่างเหมือนกัน (คาดว่าทำมาเพื่อป้องกันระบบล่ม)
– จากนั้นให้กดเลือก โดยนักเรียนไทย กรอกเลขประจำตัวประชาชน ส่วนนักเรียนต่างชาติ หรือนักเรียนที่ไม่มีหลักฐานทางทะเบียน ให้ใช้รหัส G-Code จากโรงเรียนที่ศึกษาอยู่มากรอก
– พิมพ์รหัสรูปภาพ แล้วกดตรวจสอบ จากนั้นจะปรากฏข้อความว่า มีสิทธิ หรือ ไม่มีสิทธิ หรือ มีรายชื่อนักเรียนซ้ำซ้อน (กรณีนี้ คือ มีชื่อปรากฏว่าอยู่ในโรงเรียนมากกว่า 1 แห่ง ให้ติดต่อโรงเรียนที่เรียนอยู่ ณ ปัจจุบัน)
2.ตรวจสอบสิทธิผ่านแอปพลิเคชัน “สช. On mobile”
– ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน ในระบบแอนดรอยด์ คลิก https://play.google.com/store/apps/details?id=td.webuild.opec&fbclid=IwAR0lYij1fNkELyV5F6m3WttRErsIiufk ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน ในระบบ iOS คลิก https://apps.apple.com/th/app/%E0%B8%AA%E0%B8%8A-on-mobile/id1540552791?l=th
– กดเข้าสู่ระบบด้วย เฟซบุ๊ก อีเมล์ หรือ ไลน์ คลิกที่ปุ่ม “ตรวจสอบสิทธิ”
– โดยนักเรียนไทย กรอกเลขประจำตัวประชาชน ส่วนนักเรียนต่างชาติ หรือนักเรียนที่ไม่มีหลักฐานทางทะเบียน ให้ใช้รหัส G-Code จากโรงเรียนที่ศึกษาอยู่มากรอก
– แล้วกดตรวจสอบ จากนั้นจะปรากฏข้อความว่า มีสิทธิ หรือ ไม่มีสิทธิ หรือ มีรายชื่อนักเรียนซ้ำซ้อน (กรณีนี้ คือ มีชื่อปรากฏว่าอยู่ในโรงเรียนมากกว่า 1 แห่ง ให้ติดต่อโรงเรียนที่เรียนอยู่ ณ ปัจจุบัน)
ทั้งนี้ วิธีการจ่ายเงินช่วยเหลือ จะจ่ายผ่านสถานศึกษา และให้สถานศึกษาจ่ายตรงให้แก่นักเรียน นักศึกษา หรือผู้ปกครอง ในรูปแบบของเงินสด หรือ นำเข้าบัญชีธนาคาร ภายในวันที่ 31 สิงหาคม ถึงต้นเดือนกันยายน