พ่อแม่ ผู้ปกครอง น่าจะต้องเคยได้ยินคำว่า เงินอุดหนุนบุตร, เงินเด็กแรกเกิด, เงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด หรือ เงินสงเคราะห์บุตรกันใช่ไหมคะ
ซึ่งชื่อเหล่านี้ ล้วนเป็นโครงการที่ช่วยเหลือภาระค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับเด็กแรกเกิด แต่เชื่อว่าหลายคนต้องสับสนแน่ๆ ว่าแต่ละโครงการแตกต่างกันอย่างไร
มีค่า นิวส์ พบบทความจากเพจเฟซบุ๊ก Parents One ที่เปรียบเทียบความแตกต่างของเงินอุดหนุนบุตร และเงินสงเคราะห์บุตร จึงสรุปมาให้ทุกคนอ่านกันค่ะ
1.หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กำกับดูแล
- เงินอุดหนุนบุตร : กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
- เงินสงเคราะห์บุตร : กองทุนประกันสังคม กระทรวงแรงงาน เพราะเป็นสิทธิประโยชน์ที่ผู้ประกันตนในกองทุน “ประกันสังคม” จะได้รับตามเงื่อนไขของการเป็นผู้ประกันสังคม
2.ความช่วยเหลือที่จะได้รับ
- เงินอุดหนุนบุตร : 600 บาทต่อเดือน ตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 ขวบ
- เงินสงเคราะห์บุตร : 800 บาทต่อเดือน ตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 ขวบ (เบิกได้ไม่เกิน 3 คน)
3.เงื่อนไขการได้รับสิทธิ
- เงินอุดหนุนบุตร : ครอบครัวที่มีรายได้น้อย รายได้เฉลี่ยคนละไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี โดยที่ลูกต้องอยู่ในความดูแลของพ่อแม่ และไม่ได้รับสวัสดิการหรือสิทธิประโยชน์อื่นใดจากหน่วยงานของรัฐ
- เงินสงเคราะห์บุตร : ต้องเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 หรือ มาตรา 39 จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน ภายในระยะเวลา 36 เดือน โดยที่ลูกต้องอยู่ในความดูแลของพ่อแม่
** หมายเหตุ : สามารถรับความช่วยเหลือจากทั้งเงินอุดหนุนบุตร และเงินสงเคราะห์บุตร พร้อมกันได้ แต่ต้องเป็นบุคคลที่เข้าเกณฑ์ของทั้ง 2 โครงการ
ดูวิธีการลงทะเบียนขอรับเงินอุดหนุนบุตร 600 บาท ที่นี่ >> https://mekhanews.com/2021/09/09/how-to-register-to-receive-600-baht-child-support/
ดูวิธีตรวจสอบสิทธิเงินอุดหนุนบุตร 600 บาท ที่นี่ >> https://mekhanews.com/2021/07/10/how-to-request-for-child-support-600-baht/