Site icon Mekha News (มีค่านิวส์) : เว็บไซต์ข่าว ที่จะนำเสนอข่าวสารเพื่อรักษาสิทธิให้กับคุณ

โอนเงินเยียวยาประกันสังคมรอบ 2 มาตราไหน โอนให้เมื่อไหร่ เช็กเลย!

เปิดไทม์ไลน์จ่ายเงินเยียวยาประกันสังคมรอบ 2 ที่นี่!

หลังจากที่คณะรัฐมนตรี(ครม.) เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2564 อนุมัติเงินช่วยเหลือจ่ายเยียวยาผู้ประกันตนมาตรา 39 และมาตรา 40 เพิ่มเติมอีกรายละ 1 เดือน หรือ 5,000 บาท กระทั่งต่อมา มติ ครม. เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2564 อนุมัติจ่ายเยียวยาให้กับนายจ้างและผู้ประกันตน มาตรา 33 เพิ่มเติม 1 เดือน รวมเป็น 2 เดือน ในพื้นที่สีแดงเข้ม 13 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร ปัตตานี ยะลา นราธิวาส สงขลา ชลบุรี ฉะเชิงเทรา พระนครศรีอยุธยา

ล่าสุด นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยถึงความคืบหน้าการจ่ายเงินเยียวยาผู้ประกันตนรอบ 2 มีไทม์ไลน์จ่ายเงินเยียวยา ดังนี้

1.ผู้ประกันตนมาตรา 33 ใน 9 กลุ่มกิจการ พื้นที่สีแดงเข้ม 13 จังหวัด จะได้รับเยียวยา รอบ 2 อีกคนละ 2,500 บาท เงินโอนเข้าบัญชีพร้อมเพย์ผูกบัตรประชาชน ช่วงวันที่ 20- 30 กันยายน 2564

2.นายจ้างมาตรา 33 ใน 9 กลุ่มกิจการ พื้นที่สีแดงเข้ม 13 จังหวัด จะได้รับเงินเยียวยารอบ 2 ตามจำนวนลูกจ้างหัวละ 3,000 บาท ไม่เกิน 200 คน เงินเข้าบัญชีในช่วงวันที่ 20- 30 กันยายน 2564

3.ผู้ประกันตนมาตรา 39 ในพื้นที่สีแดงเข้ม 13 จังหวัด จะได้รับเยียวยารอบ 2 อีกคนละ 5,000 บาท เงินเข้าบัญชีพร้อมเพย์ผูกบัตรประชาชน ในช่วงวันที่ 20- 30 กันยายน 2564

4.ผู้ประกันตนมาตรา 40 ในพื้นที่สีแดงเข้ม 13 จังหวัด  จะได้รับเยียวยารอบ 2 อีกคนละ 5,000 บาท เงินเข้าบัญชีพร้อมเพย์ผูกบัตรประชาชน  ในช่วงวันที่ 20- 30 กันยายน 2564

ส่วนผู้ประกันตนมาตรา 40 ในพื้นที่ 19 จังหวัด ที่สมัครขึ้นทะเบียนสมบูรณ์ ระหว่างวันที่ 4-24 สิงหาคม 2564 จำนวน 2.6 ล้านราย สำนักงานประกันสังคม ได้เปิดให้ตรวจสอบสิทธิได้ตั้งแต่วันที่ 7 กันยายน 2564 ที่เว็บไซต์ www.sso.go.th  ซึ่งหลังจากที่สำนักงานประกันสังคม ได้รับงบประมาณจากกระทรวงการคลังแล้ว จากนั้นจะเริ่มโอนเงินให้กับผู้ประกันตนมาตรา 40 ที่ได้รับสิทธิ ในช่วงวันที่ 20-30 กันยายน 2564  โดยกลุ่มนี้จะได้รับเงินรอบแรก 5,000 บาท

แต่สำหรับผู้ที่อยู่ใน 3 จังหวัด คือ ชลบุรี ฉะเชิงเทรา พระนครศรีอยุธยา ซึ่งได้รับสิทธิเยียวยา 2 เดือน จะได้รับเงินเยียวยาคราวละ 5,000 บาท หรือ อาจได้รับคราวเดียว 10,000 บาท

ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ

Exit mobile version