มีค่า นิวส์ เชื่อว่ามีผู้ประกันตนหลายคนแอบสงสัยว่าเงินสมทบที่เราจ่ายไปทุกเดือน จะได้คืนมาในรูปแบบไหน คำตอบ คือ จะได้กลับมาในรูปแบบ เงินบำเหน็จชราภาพ และเงินบำนาญชราภาพค่ะ โดยคิดเป็น 3% ของฐานเงินเดือนที่ถูกหักออมไปนั่นเอง
ดูความแตกต่างเงินบำเหน็จ และเงินบำนาญได้ที่ https://mekhanews.com/2021/11/24/old-age-pension-what-is-the-difference-between-social-securitys-old-age-pension/
แต่สำหรับใครที่อยากรู้ว่า เราจะได้เงินบำเหน็จ บำนาญเท่าไหร่ มีค่า นิวส์ มีวิธีคำนวนมาฝาก โดยจะขอเริ่มที่เงินบำนาญชราภาพก่อนค่ะ ซึ่งผู้ประกันตนจ่ายเงินประกันสังคมทุกเดือน เมื่อครบ 180 เดือน หรือ 15 ปีขึ้นไป สามารถขอโดยจะได้รับเงินเป็นรายเดือนตลอดชีวิต โดยมีเงื่อนไข ดังนี้
- จ่ายเงินสมบทตั้งแต่ 180 เดือน หรือ 15 ปีขึ้นไป
- อายุครบ 55 ปี บริบูรณ์
- สิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตน
สูตรคำนวณเงินบำนาญชราภาพ มี 2 กรณี คือ
1.เมื่อผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบ 180 เดือน หรือ 15 ปี จะได้รับ 20% ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย (ฐานเงินเดือนสูงสุดที่คิดคือ 15,000 บาท)
ตัวอย่างเช่น : ผู้ประกันตนอายุ 55 ปี จ่ายเงินสมทบมาแล้ว 15 ปี มีรายได้เฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย 15,000 บาท ผู้ประกันตนจะได้รับเงินบำนาญ เดือนละ 3,000 บาท
2.เมื่อผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบเกิน 180 เดือน (15 ปี) ขึ้นไปจะได้รับ 20% ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย (ฐานเงินเดือนสูงสุดที่คิดคือ 15,000 บาท) และได้เพิ่มอีก 1.5% ของทุกปี = 20% + (1.5*จำนวนปี)
ตัวอย่างเช่น : ผู้ประกันตนอายุ 60 ปี จ่ายเงินสมทบมาแล้ว 35 ปี มีรายได้เฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย 15,000 บาท ผู้ประกันตนจะได้รับเงินบำนาญ เดือนละ 7,500 บาท
หมายเหตุ : **กรณีผู้รับเงิน บำนาญชราภาพถึงแก่ความตายภายใน 60 เดือน (5 ปี) นับแต่เดือนที่มีสิทธิได้รับเงินบำนาญชราภาพ ทายาทมีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จชราภาพ 10 เท่าของเงินบำนาญชราภาพรายเดือนที่ได้รับคราวสุดท้ายก่อนถึงแก่ความตาย
ทั้งนี้ ผู้ประกันตน สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับประกันสังคมได้ที่ www.sso.go.th หรือ โทรสายด่วน 1506 ให้บริการทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง