Mekha News (มีค่านิวส์) : เว็บไซต์ข่าว ที่จะนำเสนอข่าวสารเพื่อรักษาสิทธิให้กับคุณ

How To กู้สินเชื่อเพื่อฟื้นฟู SME

กระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมกับ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank  ทุ่มงบประมาณสินเชื่อกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ 2,000 ล้านบาท เปิดให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี กู้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ 3 โครงการ ตั้งแต่วันนี้ 17 มกราคม  ถึง 31 พฤษภาคม  2565 หรือ จะจนกว่าสินเชื่อจะหมด อ่านเพิ่มเติมที่ https://mekhanews.com/2022/01/17/ministry-of-industry-joins-sme-d-bank-to-open-3-loans-with-low-interest-helping-sme-entrepreneurs-fight-covid-19/

ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ สินเชื่อเพื่อฟื้นฟู SME วงเงิน 500 ล้านบาท มีค่า นิวส์  จึงขอสรุปรายละเอียด และขั้นตอนการยื่นกู้สินเชื่อนี้มาฝากทุกคนค่ะ

คุณสมบัติ

1.เป็นเอสเอ็มอีที่เป็นลูกหนี้สินเชื่อของกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ ที่มีภาระหนี้เงินต้นวงเงินกู้สินเชื่อระยะยาว (Term Loan) คงเหลืออยู่กับกองทุน

2.เป็นเอสเอ็มอีที่เป็นลูกหนี้สินเชื่อของกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ ที่มีสถานะต้องไม่เป็น NPL มีประวัติการผ่อนชำระหนี้ปกติ หรือไม่อยู่ในระหว่างที่ถูกกองทุนดำเนินคดี ทั้งนี้ ผ่อนปรนประวัติการชำระหนี้ล่าช้าไม่เกิน 2 ครั้ง หรือค้างค่างวดไม่เงิน 2 งวด ณ วันที่ยื่นขอเข้าร่วมหลักเกณฑ์

3.เป็นเอสเอ็มอีที่เป็นลูกหนี้สินเชื่อของกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ ที่ไม่เคยได้รับความช่วยเหลือด้านการเงินจากกองทุน ดังนี้

– สินเชื่อของกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ เพื่อช่วยเหลือเอสเอ็มอีที่เป็นลูกหนี้สินเชื่อของกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ ซึ่งได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ภัยแล้ง หรือการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) รอบที่ 1 และ 2

– สินเชื่อของกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ เพื่อช่วยเหลือเอสเอ็มอีที่เป็นลูกหนี้สินเชื่อของกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ โครงการฟื้นฟูและเสริมศักยภาพวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สำหรับ SMEs – คนตัวเล็ก ซึ่งได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ภัยแล้ง หรือการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) รอบที่ 1 และ 2

– หรือเป็นไปตามที่คณะกรรมการบริหารกำหนด

วัตถุประสงค์การกู้

1.เพื่อเป็นเงินทุนช่วยเหลือและสนับสนุนลูกหนี้สินเชื่อของกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ

2.เพื่อใช้ในการปรับปรุง ลงทุน เงินทุนหมุนเวียน เสริมสภาพคล่องในการดำเนินกิจการ หรือฟื้นฟูกิจการในปัจจุบัน หรือ เริ่มต้นกิจการใหม่

3.หรือเป็นไปตามที่คณะกรรมการบริหารกำหนด

วงเงินสินเชื่อต่อราย

– สูงสุดไม่เกิน 3 ล้านบาท (สามล้านบาท)

– ทั้งนี้ เมื่อรวมกับภาระหนี้เงินต้นคงเหลือและดอกเบี้ยคงค้างของสัญญากู้ยืมเงินกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ ต้องไม่เกินจากวงเงินสินเชื่อที่ได้รับอนุมัติเดิม

ประเภทสินเชื่อและระยะเวลาการให้กู้ยืม

– เงินกู้สินเชื่อระยะยาว (Term Loan) ระยะเวลากู้ สูงสุดไม่เกิน 7 ปี

– ปลอดชำระคืนเงินต้น สูงสุดไม่เกิน 12 เดือน

อัตราดอกเบี้ยเงินกู้

– อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 2 ต่อปี ตลอดอายุสัญญา หากมีการเปลี่ยนแปลงให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการบริหารประกาศกำหนด

– กรณีผิดนัดชำระหนี้ ให้เป็นไปตามแนวทางปฏิบัติของหน่วยร่วมดำเนินการ แต่ทั้งนี้สูงสุดไม่เกินอัตราดอกเบี้ยตามที่กฎหมายกำหนด

หลักประกัน

พิจารณาความเป็นไปได้ของโครงการเป็นสำคัญ โดยมีการผ่อนปรนหลักประกัน ดังนี้

1.ให้กรรมการผู้มีอำนาจลงนาม และ/หรือ ผู้ถือหุ้นใหญ่ และ/หรือ ผู้ได้รับประโยชน์จากสินเชื่อค้ำประกันเต็มวงเงินที่ได้รับอนุมัติ

2.กรณีนำเงินของกองทุนไปลงทุนในเครื่องจักร หรือ ยานพาหนะ ให้จดทะเบียนเป็นหลักประกันทางธุรกิจเต็มวงเงินที่ได้รับอนุมัติ

3.กรณีนำเงินไปลงทุนในอาคาร สิ่งปลูกสร้าง เครื่องจักร ยานพาหนะ ให้มีการจัดทำประกันภัยแก่หลักประกันตามแนวทางของหน่วยร่วมดำเนินการ

ขั้นตอนการยื่นกู้

1.เข้าไปที่เว็บไซต์ https://coreportal.smebank.co.th/osr_fundcovid.php

2.กรอกหมายเลขทะเบียนการค้า / เลขทะเบียนนิติบุคคล

3.กด “ตรวจสอบ”

4.แจ้งความประสงค์ยื่นกู้สินเชื่อ

หรือ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย Call Center ของ SME D Bank โทร.1357

ทั้งนี้ ผู้ประกอบการยังสามารถยื่นกู้ได้ที่ หน่วยร่วมดำเนินการทุกสาขาในเขตพื้นที่ที่สถานประกอบการจัดตั้งอยู่ หรือ ช่องทางอื่น ๆ ที่หน่วยร่วมดำเนินการกำหนด ดาวน์โหลดเอกสารขอกู้ได้ที่  file:///C:/Users/ASUS/Downloads/9-ประกาศหลักเกณฑ์-เพื่อฟื้นฟู-500-ลบ%20(1).pdf

จากนั้นหน่วยร่วมดำเนินการ มีอำนาจพิจารณาลูกหนี้สินเชื่อของกองทุนพัฒนา เอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐที่มีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด เพื่อเข้าสู่กระบวนการอนุมัติการให้สินเชื่อ

ที่มา : SME D Bank www.smebank.co.th     

Exit mobile version