Mekha News (มีค่านิวส์) : เว็บไซต์ข่าว ที่จะนำเสนอข่าวสารเพื่อรักษาสิทธิให้กับคุณ

แนะผู้สูงอายุป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง NCDs ทำตาม 8 วิธี ช่วยลดความเสี่ยงติดเชื้อโควิด ที่ส่งผลทำให้อาการรุนแรงมากขึ้น

ผู้ที่มีโรคประจำตัวในกลุ่มโรค NCDs หรือ โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โดยเฉพาะผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป หากติดเชื้อ COVID-19 จะทำให้มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนและอาการรุนแรงมากกว่าปกติ ซึ่งกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-Communicable Diseases) หรือ NCDs หมายถึง กลุ่มโรคที่ไม่ได้มีสาเหตุจากการติดเชื้อ หรือจากเชื้อโรค ไม่ติดต่อผ่านการสัมผัส คลุกคลี หรือผ่านตัวนำโรค (พาหะ) แต่เกิดจากความเสื่อมสภาพของร่างกาย และส่วนหนึ่งมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตแบบไม่ระวัง

กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-Communicable Diseases) หรือ NCDs หากติด COVID-19 แล้วเสี่ยงมีอาการรุนแรง มีโรคอะไรบ้าง และจะป้องกันอย่างไร ให้ห่างไกลจาก NCDs มีค่า นิวส์ พาผู้สูงอายุทุกคนมาหาคำตอบ

กลุ่มโรค NCDs หรือ โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ประกอบด้วย

1.โรคมะเร็ง

2.โรคความดันโลหิตสูง

3.โรคหัวใจและหลอดเลือด

4.โรคหลอดเลือดสมองอัมพฤกษ์ อัมพาต

5.โรคอ้วน

6.โรคเบาหวาน

7.โรคไตเรื้อรัง

8.โรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรัง

คำแนะนำสำหรับผู้สูงอายุที่ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

1. เว้นระยะห่างอย่างน้อย 1 – 2 เมตร (Social Distancing) หลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่แออัด สัมผัสใกล้ชิด และสถานที่ที่อากาศไม่ถ่ายเท

2. ใส่หน้ากาก ปิดปาก ปิดจมูกตลอดเวลา

3. ล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำสบู่ หรือ เจลแอลกอฮอล์ อย่างน้อย 20 วินาที

4. ดูแลสุขภาพให้แข็งแรง รับประทานยาประจำตัวอย่างสม่ำเสมอ หมั่นสำรวจสุขภาพตนเอง เช่น วัดความดันโลหิตที่บ้าน วัดระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเองที่บ้าน

5. ควรรับวันป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาให้ครบตามกำหนด และรับวัคซีนไข้หวัดใหญ่เป็นประจำทุกปี

6. ควรมีเบอร์ติดต่อโรงพยาบาล แพทย์สำหรับปรึกษาปัญหาสุขภาพ หรือ ปัญหาการใช้ยา

7. สามารถโทรศัพท์ปรึกษาแพทย์ หรือ ตรวจทางไกลได้ (Telemedicine) ขอรับยาทางไปรษณีย์ หรือให้ผู้อื่นไปรับยาแทน

8. หากมีอาการป่วยฉุกเฉินควรรีบเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล หรือ โทร 1669 ในกรณีณีฉุกเฉิน

วิธีป้องกันไม่ให้ป่วยกลุ่มโรค NCDs

1.ไม่รับประทานอาหารหวานมันเค็มจัด

2.ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

3.พยายามหากิจกรรมลดความเครียด

4.งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

5.ไม่สูบบุหรี่

6.พักผ่อนให้เพียงพอ

ซึ่งหากผู้สูงอายสามารถลด หรือ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงเหล่านี้ได้ ก็จะเป็นการลดโอกาสเสี่ยงในการเป็นกลุ่มโรค NCDs ได้มากถึง 80% เลยทีเดียว แน่นอนว่า การป้องกันย่อมดีกว่าการรักษานะคะ มีค่า นิวส์ ขอรณรงค์ให้ทุกคนปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อให้ห่างไกลโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือ NCDs กันนะคะ

ขอบคุณข้อมูล :

http://phitsanulok.go.th/COVID19/?p=2069

https://www.facebook.com/thaincd

https://www.kuntakunyay.com/content/14772/ผู้สูงอายุที่เป็นโรคncdsเสี่ยงเสียชีวิตสูง-

Exit mobile version