สถานการณ์โรคโควิด-19 แพร่ระบาด ยังไม่มีทีท่าจะจบลงง่าย ๆ แถมมีโควิดกลายพันธุ์ออกมาต่อเนื่อง หลายคนทำประกันโควิด-19 เอาไว้ตั้งแต่ปี 2564 ก็ใกล้สิ้นสุดความคุ้มครอง 1 ปีแล้ว และเริ่มมองหาประกันโควิด-19 ฉบับใหม่ เพื่อคุ้มครองต่อเนื่องในปี 2565 ส่วนคำถามที่ว่า ประกันโควิดแบบเจอจ่ายจบ ยังมีอยู่ไหม มีค่า นิวส์ สำรวจพบว่า ปัจจุบันแทบจะไม่มีแล้วค่ะ ส่วนใหญ่จะคุ้มครองอยู่ไม่กี่กรณี เช่น
1. คุ้มครองภาวะโคม่าจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา
2. คุ้มครองค่ารักษาพยาบาลจากการเป็นผู้ป่วยใน กรณีติดเชื้อไวรัสโคโรนา
3. คุ้มครองภาวะโคม่าจากการฉีดวัคซีนโควิด-19
4. คุ้มครองค่ารักษาพยาบาลจากการเป็นผู้ป่วยใน กรณีฉีดวัคซีนโควิด-19
ดังนั้น วันนี้ มีค่า นิวส์ จึงรวบรวมมาให้ค่ะ สำหรับ 5 บริษัท ที่จัดโปรทำประกันโควิด ปี 2565 จะมีที่ไหนบ้าง ไปดูกันเลยค่ะ (ข้อมูล วันที่ 23 ก.พ. 65)
1. ทิพยประกันภัย มี 4 แผน
1.1 แผน 1AX 150 บาท
1.2 แผน 1NX 150 บาท
1.3 แผน 1BX 300 บาท
1.4 แผน 2BX 480 บาท
อ่านเพิ่มเติม >> https://www.tipinsure.com/Ph/step_2
2. DTAC (FWD) มี 2 แผน
2.1 แผน A 750 บาท
2.2 แผน B 1,500 บาท
อ่านเพิ่มเติม >> https://dsurance.dtac.co.th/dtac/ประกันไวรัสโคโรนา
3. TQM มี 3 แผน
3.1 แผน 799 บาท
3.2 แผน 1,199 บาท
3.3 แผน 1,819 บาท
อ่านเพิ่มเติม >> https://www.tqm.co.th/promotion/coronavirus_all
4. ธนาคารกรุงไทย มี 2 แผนโควิด 2 แผนแพ้วัคซีน
อ่านเพิ่มเติม >> https://krungthai.com/th/personal/insurance/non-life-insurance/408
5. ทูนประกันภัย มี 3 แผน
5.1 กลุ่ม iSafe Extra มี 3 ราคา
อ่านเพิ่มเติม >> https://www.tuneprotect.co.th/th/product/coronavirus-covid-19-insurance
ทั้งนี้ หลักเกณฑ์ใหม่ สำหรับการเคลมประกันรักษาโควิด-19 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 15 ก.พ. 2565 ที่ผ่านมา หากไม่เข้าเกณฑ์ 1 ใน 5 ข้อต่อไปนี้ ประกันจะไม่คุ้มครองค่ารักษา หรือ ชดเชยรายวัน
1. มีไข้สูงกว่า 39 องศาเซลเซียส นานกว่า 24 ชม.
2. หายใจเร็วกว่า 25 ครั้ง/นาที ในผู้ใหญ่
3. ความเข้มข้นของออกซิเจนในเลือดน้อยกว่า 94%
4. มีโรคประจำตัวที่มีการเปลี่ยนแปลง หรือต้องติดตามอาการใกล้ชิด ตามดุลยพินิจของแพทย์
5. เด็กหายใจลำบาก ซึมลง ดื่มนมหรือกินอาหารน้อยลง
ดังนั้น ผู้ติดเชื้อที่ไม่มีอาการ หรือ อาการไม่รุนแรง แม้จะพักรักษาตัวใน Hospitel แต่หากแพทย์ไม่ได้วินิจฉัยถึงความจำเป็น ก็จะเบิกค่ารักษาและค่าชดเชยรายวันไม่ได้ ยกเว้น มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์อื่น ๆ จึงจะเบิกได้ ซึ่งการปรับแนวทางปฏิบัติทางการแพทย์ของสาธารณสุขครั้งนี้ จะครอบคลุมเฉพาะกรมธรรม์ประกันโควิด และประกันสุขภาพของบริษัทประกันชีวิตและวินาศภัย ที่ให้ความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยใน และค่าชดเชยรายวันเท่านั้น ไม่เกี่ยวข้องกับประกันโควิด เจอ-จ่าย-จบ อ่านเพิ่มเติม >> https://www.facebook.com/ThaiPBS/photos/a.348532055084/10166662398480085
อย่างไรก็ตาม กรมธรรม์โควิด เป็นสัญญาปีต่อปี หากสิ้นอายุแล้ว ก็ต้องต่อในปีถัดไป ดังนั้น มีค่า นิวส์ แนะนำว่าใครที่เคยทำไว้ ก็หยิบกรมธรรม์มาตรวจสอบวันสิ้นอายุสักหน่อย เพื่อจะได้วางแผนเลือกซื้อประกันโควิด 2565 ที่ตรงกับความต้องการของเรามากที่สุดนะคะ