Mekha News (มีค่านิวส์) : เว็บไซต์ข่าว ที่จะนำเสนอข่าวสารเพื่อรักษาสิทธิให้กับคุณ

ปวดมือ ปวดคอ ข้อติด ชา เข้าข่าย อาการผิดปกติของกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างที่เกิดจากการทำงาน หมอแนะวิธีป้องกัน จะมีอะไรบ้าง ดูที่นี่!

การนั่งทำงานผิดท่า หรือไม่ขยับไปไหนนาน ๆ เพิ่มความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดโรค หรืออาการผิดปกติของกล้ามเนื้อและกระดูกในร่างกายได้ ซึ่งหลายคนอาจจะไม่รู้จักว่า มีกลุ่มอาการแบบนี้จริง ๆ อยู่บนโลก ทำให้ มีค่า นิวส์ เลยไปหาข้อมูลและข้อเท็จจริงมาให้ เพื่อเป็นความรู้ และวิทยาทานในการลดความเสี่ยงในการเกิดกลุ่มอาการผิดปกติดังกล่าวได้

อาการผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน (work-related musculoskeletal disorders, WMSDs) เป็นกลุ่มความผิดปกติของกล้ามเนื้อ ประสาท เส้นเอ็น เอ็ดยึด ข้อต่อ กระดูกอ่อน หลอดเลือด และหมอนรองกระดูกสันหลัง เช่น เส้นประสาทถูกกดทับบริเวณมือ เส้นเอ็นอักเสบ ปวดหลัง ปวดต้นคอ ไหล่ติด เป็นต้น

โดยกลุ่มอาการดังกล่าวมีสาเหตุมาจาก การทำงานของกล้ามเนื้อและกระดูกที่มาเกินไป โดยมักเกิดจากการเคลื่อนไหวซ้ำซาก การใช้แรงมาก ท่าทางการทำงานไม่ปกติ หรือการใช้เครื่องมือที่มีความสั่นสะเทือนในการทำงาน หรือทำงานสัมผัสความเย็น ทำให้มักพบอาการที่ผิดปกติได้หลายส่วนทั่วร่างกาย เช่น มือ ข้อมือ ข้อศอก คอ ไหล่ ขา สะโพก ข้อเท้า และเท้าได้

ซึ่งอาการผิดปกติของกล้ามเนื้อและกระดูก สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ระยะ ดังนี้

  1. ระยะแรก: มักมีการปวดและเมื่อยกล้ามเนื้อในขณะทำงาน และหายไปเมื่อหยุดพัก
  2. ระยะต่อมา: อาการปวดยังคงอยู่ แม้มีการหยุดพัก ทำให้ความสามารถในการทำงานลดลง
  3. ระยะสุดท้าย: อาการเป็นอยู่ตลอดเวลาจนนอนไม่หลับ และไม่สามารถทำงานได้

อาการแสดงที่พบได้ มีดังนี้

  1. อาการปวด
  2. อาการข้อติด
  3. กล้ามเนื้อตึงตัว
  4. ผิวหนังเปลี่ยนสี
  5. ชา

แนวทางการรักษา:

  1. อาการเหล่านี้มักรักษาโดยการประคับประคอง หรือ
  2. แพทย์อาจพิจารณารักษาแบบจำเพาะในกรณีที่อาการไม่ดีขึ้น

แนวทางการป้องกัน:

  1. ออกกำลังกายยืดเหยียดกล้ามเนื้ออย่างสม่ำเสมอ
  2. ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับท่าทางการทำงานที่ถูกต้อง เช่น การยกของที่ถูกวิธี การพิจารณาเลือกและออกแบบเครื่องมือที่ถูกต้องตามหลักการยศาสตร์ เป็นต้น

ที่มา: แพทย์หญิงธัญพร วุฑฒยากร แพทย์ประจำบ้านอาชีวเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อาการผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่าง
Exit mobile version