Mekha News (มีค่านิวส์) : เว็บไซต์ข่าว ที่จะนำเสนอข่าวสารเพื่อรักษาสิทธิให้กับคุณ

โรคฉี่หนู โรคหน้าฝนต้องรู้ อาการรุนแรง รักษาช้า ทำให้เสียชีวิตได้

หน้าฝน น้ำท่วมขังทีไร ทำให้นึกถึงความสะอาด และโรคต่าง ๆ ที่เราอาจจะเสี่ยงเป็นโดยไม่รู้ตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การมีน้ำท่วมขังหลายบริเวณในกรุงเทพมหานคร ยิ่งทำให้เพิ่มความเสี่ยงของการระบาดของโรคฉี่หนูมากยิ่งขึ้ตามไปด้วย มีค่า นิวส์ จึงนำรวบรวมเอาข้อมูลที่พึงรู้เกี่ยวกับโรคฉี่หนู มาฝากก

โรคฉี่หนู (Leptospirosis) เป็นโรคที่มีการระบาดในหน้าฝน ซึ่งน้ำฝนจะเป็นตัวชะล้างเอาเชื้อโรคต่าง ๆ ไหลมารวมกันไว้ที่ที่มีน้ำขัง โดยโรคฉี่หนูเกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่อยู่ในปัสสาวะของสัตว์ที่เป็นพาหะ เช่น หนู สุกร โค สุนัย เป็นต้น ทำให้คนสามารถติดเชื้อดังกล่าวได้ง่ายยิ่งขึ้น เมื่อมีฝนตก โดยสามารถติดเชื้อผ่านการสัมผัสเชื้อก่อโรคจากการสัมผัสสัตว์ที่เป็นพาหะโดยตรง เช่น ปศุสัตว์ สัตวแพทย์ หรือทางอ้อม อาจเกิดจากการย่ำน้ำ หรือทำกิจกรรมที่สัมผัสสิ่งแวดล้อมที่ดิน และน้ำปนเปื้อนเชื้อ โรคฉี่หนูจะมีระยะฟักตัวประมาณ 1-2 สัปดาห์

อาการของโรคฉี่หนูที่พบได้ ดังนี้

วิธีป้องกันโรคฉี่หนู

  1. หลีกเลี่ยงการเดินลุยน้ำ หรือย่ำน้ำ หากจำเป็นต้องย่ำควรสวมรองเท้าบูธ และเมื่อกลับถึงบ้านให้รีบล้างทำความสะอาดเท้า
  2. กินอาหารสุกใหม่ เลี่ยงการกินอาหารค้างคืนโดยไม่มีภาชนะปิด
  3. หากมีไข้ ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะน่อง หรือสงสัยว่าเป็นอาการโรคฉี่หนู ให้รีบไปพบแพทย์

หมายเหตุ:

เรียบเรียงโดย เภสัชกร ณัฐพล พานทองคำ

ที่มา: โรงพยาบาลพญาไท, โรงพยาบาลศิริราชปิยมหาการุณย์ และกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

โรคฉี่หนู
Exit mobile version