ตอนนี้ผู้คนเริ่มหันมาสนใจการใช้รถไฟฟ้ามากยิ่งขึ้น เพราะทั้งน้ำมันแพง และทำลายสิ่งแวดล้อมไปพร้อม ๆ กัน และปัจจุบันก็ได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีต่าง ๆ มากยิ่งขึ้น รวมถึงการพัฒนาให้รถยนต์กลายเป็นรถใช้พลังงานไฟฟ้าโดยสมบูรณ์แบบ ซึ่งหากจะใช้รถพลังงานไฟฟ้า ทุกคนต้องอยากทราบใช่ไหมครับว่าแล้วจะชาร์จ ตามสถานีชาร์จอย่างเดียวเลยหรือ หรือสามารถติดตั้งที่บ้านได้หรือไม่ จะได้สะดวก ๆ มีค่า นิวส์ เลยไปรวบรวมข้อต้องรู้ หรือข้อสังเกตก่อนการที่จะติดตั้งตัวชาร์จไว้ที่บ้านมาฝากกก จะได้ไม่ต้องไปต่อคิวชาร์จข้างนอกครับ
1. ตรวจสอบระบบไฟฟ้าในบ้านเบื้องต้น โดยตรวจสอบขนาดมิเตอร์ ขนาดสายเมน ขนาดเมนเซอร์กิตเบรกเกอร์ และเซอร์กิตเบรกเกอร์ของวงจนย่อยว่า เพียงพอต่อการติดตั้ง EV charger เพิ่มหรือไม่ หากไม่เพียงพอ ต้องพิจารณาปรับ หรือเปลี่ยนมีความเหมาะสมก่อนการติดตั้ง
- ขอเพิ่มขนาดมิเตอร์เครื่องเดิม และปรับปรุงระบบไฟฟ้าภายในบ้านให้รองรับ EV charger
– EV charger ระบบ Single-phase ขนาด 32 A (7.4 kW) สามารถขอเพิ่มขนาดมิเตอร์เป็น มิเตอร์ Single-phase ขนาด 30(100) A
– EV charger ระบบ Three-phase ขนาด 32 A (22 kW) สามารถขอเพิ่มขนาดมิเตอร์เป็น มิเตอร์ Three-phase ขนาด 30(100) A - ขอติดตั้งมิเตอร์เครื่องที่ 2 กรณีไม่สามารถปรับปรุงระบบไฟฟ้าเดิมภายในบ้านได้
– EV charger ระบบ Single-phase ขนาด 32 A (7.4 kW) สามารถขอติดตั้งมิเตอร์เครื่องที่ 2 เป็นมิเตอร์ Single-phase ขนาด 15(45) A
– EV charger ระบบ Three-phase ขนาด 32 A (22 kW) สามารถขอติดตั้งมิเตอร์เครื่องที่ 2 เป็นมิเตอร์ Three-phase ขนาด 15(45) A
2. ตรวจสอบอุปกรณ์ป้องกันไฟรั่ว (RCB)
ต้องตรวจสอบและมั่นใจว่า อุปกรณ์ป้องกันไฟรั่วเป็นแบบ type B หรือเทียบเท่า พิกัด < 30 mA โดยหากเป็นเครื่องชาร์จ ติดตั้ง RCD แบบ type B หรือเทียบเท่าอยู่ภายในแล้ว ไม่ต้องติดตั้งเพิ่ม
3. ตรวจสอบเต้ารับของรถ
ต้องทราบว่าเต้ารับของรถเป็นแบบใด เพราะรถแต่ละคันจะมีปลั๊ก และเต้ารับที่แตกต่างกันออกไป รวมถึงเต้ารับยังสามารถแบ่งแยกย่อยออกได้เป็น 2 แบบใหญ่ ๆ ดังนี้เช่นเดียวกัน คือ
- เต้ารับสำหรับสายชาร์จแบบพกพา (EV socket-outlet) โดยต้องเป็นเต้ารับแบบเสียบ 3 รู ทนกระแสไฟฟ้าได้ต่อเนื่อง ไม่น้อยกว่า 16 A ตาม มอก. 166-2549 (หรืออาจเป็นเต้ารีบสำหรับงานอุตสาหกรรม) นอกจากนี้ยังห้ามนำสายชาร์จแบบพกพา ไปต่อกับเต้ารับเดิมที่มีอยู่แล้วในบ้าน เพราะระบบไฟฟ้าเดิมไม่ได้ออกบบมารองรับการชาร์จไฟฟ้ารถยนต์
- เครื่องชาร์จแบบติดผนัง (wall mounted charger) จะต้องเป็นไปตามมาตรฐาน มอก. 61851 หรือ IEC 61851 นอกจากนี้ก่อนการติดตั้งต้องพิจารณาโหลดการใช้ไฟฟ้าเดิมของบ้าน และเครื่องชาร์จเสมอ หากเกินพิกัดกระแสไฟฟ้าของ MCB และขนาดมิเตอร์ให้ทำการปรับปรุงระบบไฟฟ้า และติดต่อ การไฟฟ้านครหลวง เพื่อขอเพิ่มขนาดมิเตอร์
4. พิจารณาสถานที่ติดตั้งเครื่องชาร์จ
การเลือกสถานที่เหมาะสมนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เนื่องจากอาจมีข้อจำกัดของความยาวของสายชาร์จ รวมถึงปัจจัยธรรมชาติที่อาจมีผลต่อตำแหน่งการติดตั้ง ทั้งแดด และฝน ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อตัวเครื่องชาร์จ สายชาร์จ รวมถึงผู้ใช้ หรือทำการชาร์จรรถ EV ด้วยเช่นเดียวกัน
หมายเหตุ:
- ต้องมีการติดตั้งหลักดินวงจรเสมอ ทั้งวงจรชาร์จ EV และระบบไฟฟ้าบ้าน และควรติดตั้งแยกกัน โดยหลักดินวงจรชาร์จ EV ควรมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 16 มิลลิเมตร ยาว 2.40 เมตร รวมถึงสายหุ้มฉนวนต้องมีขนาดไม่ต่ำกว่า 10 ตารางเมตร
ที่มา: การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และการไฟฟ้านครหลวง