Mekha News (มีค่านิวส์) : เว็บไซต์ข่าว ที่จะนำเสนอข่าวสารเพื่อรักษาสิทธิให้กับคุณ

พายุมู่หลาน เสี่ยงระบาด โรคอุจจาระร่วง โรคฉี่หนู หมอแนะพื้นที่น้ำท่วมให้ระมัดระวังเป็นพิเศษ เน้นกินอาหาร สุก ร้อน สะอาด

หลังจากที่ประเทศไทยได้รับผลกระทบจากพายุมู่หลาน จนทำให้หลายพื้นที่มีน้ำท่วมฉับพลัน ซึ่งทำให้เพิ่มโอกาสเสี่ยงของโรคต่าง ๆ  ในหน้าฝนมากยิ่งขึ้น ทั้งโรคอุจจาระร่วง โรคฉี่หนู ทำให้ มีค่า นิวส์ จึงนำเอาวิธีป้องกันการระบาดมาของโรคต่าง ๆ ข้างต้นมาฝาก

นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า จากอิทธิพลพายุดีเปรสชั่น “มู่หลาน” ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ในหลายพื้นที่  ทำให้ส่งผลกระทบทางสุขภาพที่เกิดจากน้ำท่วมขัง เช่น โรคอุจจาระร่วง โรคฉี่หนู เป็นต้น โดยเฉพาะโรคอุจจาระร่วง และโรคฉี่หนู

โรคอุจจาระร่วง

โรคอุจจาระร่วง เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส หรือพยาธิ โดยได้รับเชื้อผ่านกินอาหารหรือดื่มน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อเหล่านี้เข้าไป โดยผู้ป่วยจะมีอาการถ่ายอุจจาระเหลว 3 ครั้งขึ้นไป หรือถ่ายเป็นน้ำ ถ่ายมีมูกเลือดอย่างน้อย 1 ครั้งใน 1 วัน นอกจากนี้ยังมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ไข้ ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย

การป้องกันโรคอุจจาระร่วง สามารถทำได้ดังนี้ 

โรคฉี่หนู 

โรคฉี่หนู ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ออกมากับฉี่ของสัตว์ เช่น หนู หมู วัว ควาย สุนัข แพะ แกะ ปนเปื้อนอยู่ในแหล่งน้ำ ลำคลอง แอ่งน้ำขังเล็ก ๆ รวมทั้งพื้นดินโคลนที่ชื้นแฉะ คนจะได้รับเชื้อผ่านทางบาดแผลรอยถลอก รอยขีดข่วน หรือเชื้ออาจไชผ่านผิวหนังที่อ่อนนุ่มจากการแช่น้ำนาน และจากการรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อเข้าไป ผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูง (หลังลุยหรือแช่น้ำ 1-2 สัปดาห์) ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อโดยเฉพาะที่น่องหรือโคนขา ตาแดง ตัวเหลือง ตาเหลือง หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องรวดเร็วอาจเสียชีวิตได้

โรคฉี่หนูสามารถป้องกันได้ ดังนี้ 

  1. หลีกเลี่ยงการเดินลุยน้ำย่ำโคลน หรือแช่น้ำเป็นเวลานาน หากจำเป็นต้องเดินลุยน้ำหรือทำความสะอาดบ้านเรือนหลังน้ำลด ควรสวมรองเท้าบู๊ทหรือถุงพลาสติกสะอาดที่หาได้ในพื้นที่ เพื่อป้องกันไม่ให้เท้าสัมผัสน้ำโดยตรง
  2. กรณีที่อยู่ในพื้นที่น้ำท่วม มีความจำเป็นต้องลงแช่น้ำหรือลุยน้ำให้รีบอาบน้ำชำระร่างกายทันทีหลังเสร็จภารกิจ เพื่อลดระยะเวลาของการสัมผัสกับเชื้อ
  3. หมั่นทำความสะอาดบ้านเรือน และสิ่งแวดล้อมบริเวณบ้านให้สะอาด ไม่มีหนูชุกชุม
  4. หากมีอาการไข้สูงเฉียบพลัน ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ หรือมีอาการสงสัยโรคฉี่หนู ให้รีบไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด เพื่อป้องกันการเกิดอาการแทรกซ้อนหรือเสียชีวิต 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร. 1422

ที่มา: กรมควบคุมโรค

พายุมู่หลาย โรคอุจจาระร่วง โรคฉี่หนู
Exit mobile version