Mekha News (มีค่านิวส์) : เว็บไซต์ข่าว ที่จะนำเสนอข่าวสารเพื่อรักษาสิทธิให้กับคุณ

PM 2.5 กับหน้าหนาวนี้ ต้องรับมืออย่างไร

Man wearing mask protect fine dust in air pollution environment - people with protection equipment for air pollution concept

แม้ว่า PM 2.5 ดูเหมือนจะหายไปแล้วในสถานการณ์ปัจจุบัน แต่ในความเป็นจริงแล้วนั้น PM 2.5 ยังคงมีอยู่ โดยเฉพาะในช่วงหน้าหนาวแบบนี้ จะยิ่งทำให้เพิ่มโอกาสที่ในการพบเจอกับ PM 2.5 ได้มากขึ้นอย่างแน่นอน ซึ่งทั้งนี้เพื่อสุขภาพที่ดีของทุกคน มีค่า นิวส์ จึงสรุปมาให้ว่าหน้าหนาวนี้ จะต้องรับมืออย่างไรกับ PM 2.5

ในช่วงต้นปีและปลายปี จะมีอากาศหนาว รวมถึงการกระจายตัวของฝุ่นละอองอยู่ในระดับต่ำ การไหลเวียนและการถ่ายเทของอากาศไม่ดี ทำให้เกิดฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ที่เกินมาตรฐานในหลายพื้นที่ ซึ่งเกิดจากหลายสาเหตุ ดังนี้

  1. ไอเสียของรถยนต์ประเภทต่าง ๆ โดยเฉพาะรถดีเซล 
  2. การเผาในที่โล่งแจ้ง เกิดจากโรงงานอุตสาหกรรมและการก่อสร้าง 
  3. กิจกรรมในครัวเรือนสามารถทำให้เกิดฝุ่น และมลพิษทางอากาศได้เช่นเดียวกัน เช่น การสูบบุหรี่ภายในหรือนอกบ้าน การจุดธูปเทียน การหุงต้มด้วยถ่านไม้หรือฟืน การเผาขยะเศษใบไม้ ซึ่งถึงแม้ไม่ได้เป็นอันตรายต่อร่างกายแบบเฉียบพลัน แต่หากสะสมเป็นระยะเวลานานจะส่งผลกระทบในระบบทางเดินหายใจของร่างกาย 

วิธีลดและป้องกันฝุ่น PM 2.5 สามารถทำได้ ดังนี้

  1. ดูแลและทำความสะอาดสิ่งของเครื่องใช้ให้สะอาด ทั้งซัก ดูดฝุ่น ผ้าม่าน ผ้านวม หมอน พรม ซึ่งเป็นที่สะสมของฝุ่น โดยทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งการบำรุงรักษา อุปกรณ์ภายในบ้านอย่างถูกต้อง เช่น การล้างแผ่นกรองตามความถี่ของการใช้เครื่องปรับอากาศ บางกรณีอาจใช้เครื่องฟอกอากาศที่มีประสิทธิภาพเพื่อช่วยกรองอนุภาคฝุ่นละอองขนาดเล็ก
  2. ปิดประตูหน้าต่าง ในช่วงที่มี PM 2.5 สูง 
  3. งดการเผาขยะ ใบไม้บริเวณข้างบ้าน 
  4. งดสูบบุหรี่ 
  5. งดทำกิจกรรมที่ทำให้เกิดควัน 
  6. ควรสวมหน้ากากอนามัยที่สามารถป้องกันฝุ่นละออง PM 2.5 ได้ 
  7. หลีกเลี่ยงการออกจากบ้าน โดยไม่จำเป็นหากมีฝุ่น PM 2.5 เกินมาตรฐาน
  8. งดออกกำลังกายในช่วง ที่มีภาวะหมอกควันและฝุ่นสูง

นอกจากนี้ สำหรับผู้ป่วยหรือผู้มีโรคประจำตัวจะต้องระมัดระวังฝุ่น PM 2.5 ก่อนออกจากบ้าน หากไม่จำเป็นไม่ควรทำกิจกรรมกลางแจ้ง พยายามอยู่บ้าน รวมถึงควรพกยาติดตัวเสมอ หรือพบแพทย์เพื่อรับคำปรึกษา

ที่มา: สำนักสารนิเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

ฝุ่น PM 2.5
Exit mobile version