Mekha News (มีค่านิวส์) : เว็บไซต์ข่าว ที่จะนำเสนอข่าวสารเพื่อรักษาสิทธิให้กับคุณ

มะเร็งลำไส้ใหญ่ โรคร้ายที่ซุ่มเงียบ โดยที่เราไม่ทันได้สังเกตอาการตนเอง

sick glasses male adult feel stomachache hand hold belly body with stressful and tension white background healthy life ideas concept

โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงเป็นอีกหนึ่งมะเร็งที่พบได้มากเป็นอันต้น ๆ ของหลายประเทศทั่วโลก ทั้งนี้อาจเพราะว่าปัจจัยในการดำเนินชีวิต หรือแม้กระทั่งพฤติกรรมการบริโภค ที่ส่งผลต่อผู้คนโดยที่ไม่ทันได้สังเกตเห็น ทำให้ มีค่า นิวส์ จึงนำสาระเกี่ยวกับโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่มาสรุปรวมไว้ที่นี่

โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ เริ่มต้นจากการเกิดติ่งเนื้อในลำไส้ (polyp) และพัฒนาจนเป็นมะเร็งโดยใช้ระยะเวลาประมาณ 10-15 ปี โดยจะไม่มีอาการในระยะเริ่มแรกของโรค แต่จะมีอาการก็ต่อเมื่อโรคลุกลามมากขึ้นจนถึงระยะสุดท้าย ส่งผลทำให้การรักษาไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร

ปัจจัยเสี่ยงสำคัญต่อการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ และลำไส้ตรง

  1. พฤติกรรมการบริโภค เช่น อาหารไขมันสูง อาหารฟาสต์ฟู้ดต่าง ๆ ได้รับความนิยมมากขึ้น การกินอาหารปิ้งย่างไหม้เกรียม อาหารจากน้ำมันทอดซ้ำ และเนื้อสัตว์แปรรูป
  2. การสูบบุหรี่ 
  3. ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 
  4. การขาดการออกกำลังกาย 
  5. การมีภาวะอ้วนน้ำหนักเกิน
  6. มีประวัติครอบครัวหรือตนเองเป็นติ่งเนื้อในลำไส้

อาการของโรคที่พบบ่อย ได้แก่ 

  1. การถ่ายอุจจาระผิดปกติ 
  2. มีอาการท้องผูกสลับท้องเสีย 
  3. ถ่ายอุจจาระบ่อยครั้ง ถ่ายไม่สุด 
  4. ถ่ายเป็นมูกหรือ มูกปนเลือด หรืออาจถ่ายเป็นเลือดสด 
  5. ขนาดลำอุจจาระเล็กลง
  6. มีอาการปวดท้อง แน่นท้อง ท้องอืด จุกเสียด

มะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงเป็นมะเร็งที่สามารถตรวจคัดกรองเพื่อค้นหามะเร็งในระยะเริ่มแรกได้ ส่งผลให้การรักษาได้ผลดีและมีโอกาสหายจากโรคสูง  ผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ควรรับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงโดยการตรวจหาเลือดแฝงในอุจจาระปีละครั้ง หากผิดปกติควรได้รับการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ กรณีพบติ่งเนื้อหรือความผิดปกติในลำไส้ใหญ่ แพทย์จะทำการตัดชิ้นเนื้อบริเวณดังกล่าวเพื่อวินิจฉัยต่อไป

ที่มา: สำนักสารนิเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และกรมการแพทย์

โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ และลำไส้ตรง
Exit mobile version