การรถไฟแห่งประเทศไทย กำหนดให้ขบวนรถไฟทางไกล สายเหนือ สายใต้ สายอีสาน ของขบวนรถด่วนพิเศษ รถด่วน รถเร็ว จำนวน 52 ขบวน ให้บริการ ณ สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ สถานีรถไฟหลักแห่งใหม่ของประเทศไทย ตั้งแต่ 19 มกราคม 2566 เป็นต้นไป มีค่า นิวส์ จึงจะพามาทำความรู้จักกับ สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์
อ่านเพิ่มเติม >> ขบวนรถไฟไป สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ มีสายไหนบ้าง
สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ (Krung Thep Aphiwat Central Terminal Station) เป็นนามพระราชทานใหม่ของ สถานีกลางบางซื่อ โดยสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) ขอให้ราชเลขานุการในพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาทรงทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทต่อไปแล้ว และได้รับแจ้งจากสำนักพระราชวังว่า ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานชื่อเส้นทางรถไฟฯ และ สถานีกลางบางซื่อ ดังนี้
- พระราชทานชื่อเส้นทางรถไฟชานเมืองสายสีแดงอ่อน (บางซื่อ-ตลิ่งชัน) ระยะที่ 1 ว่า นครวิถี ความหมาย “เส้นทางของเมือง”
- พระราชทานชื่อเส้นทางรถไฟชานเมืองสายสีแดงเข้ม (บางซื่อ-รังสิต) ระยะที่ 1 ว่า ธานีรัถยา ความหมาย “เส้นทางของเมือง”
- พระราชทานชื่อสถานีกลางบางซื่อว่า สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ ความหมาย “ความเจริญรุ่งเรืองยิ่งแห่งกรุงเทพมหานคร”
ทั้งนี้ เพื่อเป็นศูนย์กลางของการขนส่งระบบรางให้บริการ ทั้งรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง รถไฟทางไกล และรวมถึงสถานีรถไฟความเร็วสูงในอนาคต
5 ข้อต้องรู้เพิ่มเติม
- สถานีกรุงเทพ เปลี่ยนชื่อเป็น กรุงเทพ (หัวลำโพง) เราจะเรียกกันว่า หัวลำโพง
- สถานีชุมทางบางซื่อ ยังอยู่ เราจะเรียกว่า บางซื่อ เพื่อไม่ให้ทับไลน์กับกรุงเทพอภิวัฒน์ ป้องกันการสับสน โดยสถานีชุมทางบางซื่อ จะใช้ขึ้น-ลง สำหรับรถไฟขบวนที่เข้า/ออกหัวลำโพง เท่านั้น
- สถานีและป้ายหยุดรถบนภาคพื้น ตั้งแต่ กม.11 บางเขน ทุ่งสองห้อง หลักสี่ กม.19 ดอนเมือง ยกเลิกทั้งหมด แล้วใช้สถานีบนทางสายสีแดงแทน
- รถไฟ รฟท. จอดแค่ สถานีกลาง / ดอนเมือง / รังสิต เท่านั้น
- สถานีดอนเมือง เปลี่ยนไปใช้สถานีเดียวกับสายสีแดง ตรงตลาดใหม่ดอนเมือง ฉะนั้นสถานีตรง Amari Airport / วัดดอนเมือง
ขอบคุณรูปภาพและข้อมูล : thestandard, ทีมพีอาร์การรถไฟแห่งประเทศไทย