Mekha News (มีค่านิวส์) : เว็บไซต์ข่าว ที่จะนำเสนอข่าวสารเพื่อรักษาสิทธิให้กับคุณ

How To สังเกต โรคซึมเศร้า จาก Social Media

เชื่อหรือไม่ การให้ความสนใจเรื่องราวของผู้อื่น หรือใช้เวลาบนสื่อสังคมออนไลน์มากเกินไป อาจส่งผลกระทบต่อจิตใจของเราได้ และอาจเป็นสาเหตุหนึ่งในการเสี่ยงเป็น “ซึมเศร้า” จาก Social Media (สื่อสังคมออนไลน์) ได้นะคะ แล้วเราสามารถสังเกตตัวเองและคนรอบข้างได้อย่างไรว่า มีโอกาสเสี่ยง “ซึมเศร้า” จากการติดสื่อสังคมออนไลน์มากเกินไป มีค่า นิวส์ สรุปวิธีสังเกตจาก มหาวิทยาลัยมหิดล มาฝากค่ะ

การใช้เวลากับสื่อสังคมออนไลน์
1.ใช้เวลาในแต่ละวันบนสื่อสังคมออนไลน์นานกว่าที่ตั้งใจไว้ โดยไม่เกี่ยวข้องกับการทำงาน
2.ใช้เวลาจนส่งผลกระต่อการทำงาน และความสัมพันธ์กับผู้อื่น
3.ใช้สื่อสังคมออนไลน์จนไม่ได้ทำกิจกรรม งานอดิเรกอื่น ๆ

ลักษณะการใช้สื่อสังคมออนไลน์
1.เปรียบเทียบตนเองกับข้อมูลที่ผู้อื่นโพสต์ เช่น รูปร่าง ฐานะ ความเป็นอยู่ เป็นต้น
2.เข้าไปดูข้อมูลของผู้อื่นโดยไม่ค่อยโพสต์บนพื้นที่ของตนเองหรือกดไลก์
3.ใช้เพื่อจัดการอารมณ์ทางลบต่าง ๆ เช่น เศร้า โกรธ เบื่อ หรือเหงา
4.ใช้เพื่อรังแกหรือต่อว่าผู้อื่น

หากใครรู้สึกว่าตัวเอง หรือคนรอบข้าง มีโอกาสเสี่ยง “ซึมเศร้า” จากสื่อสังคมออนไลน์ ขอแนะนำให้ปรับพฤติกรรมการใช้ให้ลดน้อยลง และลองหากิจกรรมต่าง ๆ ทำเพิ่มมากขึ้น เช่น การออกไปพบเจอเพื่อน ออกกำลังกาย หรือหางานอดิเรกที่ชื่นชอบ เป็นต้น หากไม่ดีขึ้นควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญค่ะ

ที่มา : รามาแชนแนล Rama Channel

Exit mobile version