Mekha News (มีค่านิวส์) : เว็บไซต์ข่าว ที่จะนำเสนอข่าวสารเพื่อรักษาสิทธิให้กับคุณ

ภาวะตาบอดกลางคืน คือ

ภาวะตาบอดกลางคืน (Night blindness) หรือปัญหาการมองเห็นในที่มืด ซึ่งเกิดจากบริเวณจอตา (Central retina) มีความผิดปกติ ทำให้ความคมชัดของภาพลดลง จึงส่งผลให้ผู้ป่วยมีความลำบากในการทำกิจวัตรในที่แสงมืด หรือสลัว หรือต้องใช้เวลาปรับตัวในการเข้าในที่มืดนานกว่าปกติ ซึ่งลักษณะอาการผู้ที่มีอาการตาบอดกลางคืนนั้น มักจะเกิดขณะที่ต้องมีการปรับเปลี่ยนการมองจากที่ที่มีแสงสว่างมาก ไปยังที่แสงสลัว เช่น การเดินจากภายนอกอาคารเข้ามาในตัวอาคารการเข้าชมภาพยนต์ หรือการขับรถตอนกลางคืนที่มีแสงสว่างไม่สม่ำเสมอ เป็นต้น

นอกจากนี้ตาบอดกลางคืน ยังเกิดได้จากอีกหลายปัจจัย เช่น 

  1. การขาดวิตามิน เอ และขาดสังกะสี ซึ่งเป็นวิตามินที่มีส่วนช่วยในการมองเห็น ซึ่งสามารถหาได้จากการกินถั่วเปลือกแข็ง เนื้อวัว หรือสัตว์ปีก
  2. มีปัญหาเกี่ยวโรคทางตา เช่น สายตาสั้น ต้อกระจก ต้อหิน เบาหวานขึ้นตา หรืออาจจะเกิดการผิดปกติที่จอประสาทตา
  3. ความบกพร่องทางพันธุกรรม เช่น โรคจอประสาทตาเสื่อม (Retinitis Pigmentosa)ซึ่งไม่สามารถรักษาให้หายได้

การป้องกันตาบอดกลางคืน สามาถทำได้ ดังนี้ 

  1. การขาดวิตามิน-เอ แนะนำให้กินอาหารมีประโยชน์ 5 หมู่ให้ครบถ้วนทุกมื้ออาหาร เช่น น้ำมันตับปลา เครื่องในสัตว์ ไข่แดง แครอท บร็อคโคลี่ ฟักทอง หรือกรดไขมันโอเมก้า 3 สูง เช่น ปลาทะเลน้ำลึก เมล็ดแฟลกซ์ วอลนัท น้ำมันข้าวโพด น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันรำข้าว
  2. หากเกิดจากกรรมพันธุ์ เป็นโรคป้องกันไม่ได้ แต่การพบจักษุแพทย์ทันที อาจช่วยชะลอการเสื่อมของจอตาให้ช้าลงได้

ที่มา: สำนักสารนิเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

ตาบอดกลางคืน
Exit mobile version