จากข่าววันที่ 27 ก.พ. 66 นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ออกมาเปิดเผยสถานการณ์โรคโควิด-19 ในไทยยังคงตัว ปี 2566 อาจพบการติดเชื้อสูงขึ้นช่วงสงกรานต์และเปิดเทอม ย้ำกลุ่มเสี่ยงฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น หรือ ฉีด LAAB หากมีอาการป่วยทางเดินหายใจ ให้ตรวจคัดกรองด้วย ATK สวมหน้ากากอนามัยขณะอยู่ใกล้ชิดผู้อื่น มีค่า นิวส์ จึงจะพามาทำความรู้จักคำนี้กันค่ะ
ฉีด LAAB คือ ภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป (Long-acting antibody) เป็นแอนติบอดีออกฤทธิ์ยาวที่ประกอบด้วยแอนติบอดี 2 ชนิด ได้แก่ Tixagevimab และ Cilgavimab สำหรับใช้ป้องกันโควิด-19 ในกลุ่มบุคคลที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ ประชาชนสามารถติดต่อเข้ารับการฉีดภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป หรือ Long Acting Antibody (LAAB) ได้ที่สถานพยาบาล เพื่อป้องกันการป่วยหนัก ลดโอกาสเสียชีวิตแก่ประชาชน
การทำงานของ LAAB จะเป็นการช่วยเสริมภูมิคุ้มกันในผู้ที่ตอบสนองต่อวัคซีนได้น้อยกว่าคนทั่วไป เมื่อฉีดเข้าไปแล้วร่างกายจะสร้างภูมิต้านทานต่อเชื้อโควิดได้ทันที ทำให้เกิดประโยชน์อย่างมากในการลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตในกลุ่มผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง ซึ่งในต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร สหภาพยุโรป และอีกกว่า 30 ประเทศทั่วโลก ได้มีการขึ้นทะเบียนใช้ภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป LAAB ในการรักษาผู้ป่วยโควิดกลุ่มเปราะบางที่เสี่ยงต่อการเสียชีวิตแล้ว
สำหรับวิธีการฉีด LAAB จะมี 2 ขวด หนึ่งขวดจะมี 1.5 ซีซี ฉีดที่สะโพกข้างละ 1.5 ซีซี ซึ่งฉีดครั้งเดียวจบ โดยผลการศึกษาพบว่า เมื่อฉีดแล้วจะออกฤทธิ์ยาว 6 เดือน ป้องกันโควิดได้ร้อยละ 83 อันนี้เป็นช่วงที่มีการศึกษา แต่จะยาวนานกว่านี้หรือไม่ต้องรอข้อมูลที่กำลังติดตามต่อเนื่อง ส่วนวัคซีนโควิดฉีดแล้วภูมิคุ้มกันขึ้น แต่สักพักภูมิฯก็จะตก จึงเป็นที่มาของการรณรงค์ฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น โดย 4 เดือนควรฉีดเข็มกระตุ้น โดยเฉพาะกลุ่ม 608
แนวทางการให้ภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป แบ่งตามกลุ่มเป้าหมาย ดังนี้
1.กลุ่มเป้าหมายการให้ LAAB สำหรับฉีดป้องกันก่อนการสัมผัสเชื้อ ได้แก่
- ผู้ที่ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะหรือได้รับการปลูกถ่ายไขกระดูกที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน
- ผู้ป่วยโรคมะเร็งทางโลหิตวิทยาหรือมะเร็งอวัยวะที่กำลังได้รับการรักษา หรือเพิ่งหยุดการรักษาภายใน 6 เดือน
- ผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ ได้แก่ มีซีดีสี่น้อยกว่า 200 เซลล์/ลบ.มม. ไม่ได้รับการรักษาด้วยยาต้านเอชไอวี มีประวัติเป็นโรคติดเชื้อฉวยโอกาสที่จำนวนซีดีสี่ไม่เพิ่มขึ้น หรือมีอาการแสดงของการติดเชื้อเอชไอวีที่มีอาการ
- ผู้ป่วยโรคไตระยะสุดท้ายที่ได้รับการบำบัดทดแทนไต ทั้ง hemodialysis และ peritoneal dialysis
- ผู้ที่กำลังได้รับยากดภูมิคุ้มกัน หรือผู้ที่แพทย์พิจารณาแล้วว่ามีภูมิคุ้มกันบกพร่อง
- ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ที่ยังไม่ได้รับวัคซีนโควิด-19
- ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 70 ปีขึ้นไป ที่ฉีดวัคซีนโควิด-19 เข็มสุดท้ายเกิน 6 เดือน
- ผู้ที่มีโรคเรื้อรัง 7 กลุ่มโรค ที่ยังไม่ได้รับวัคซีนหรือฉีดวัคซีนโควิด-19 เข็มสุดท้ายเกิน 6 เดือน (7 กลุ่มโรคเรื้อรัง ได้แก่ โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไตวายเรื้อรัง โรคหลอดเลือดสมอง โรคอ้วน โรคมะเร็ง และโรคเบาหวาน)
2.กลุ่มเป้าหมายการให้ LAAB สำหรับฉีดเพื่อรักษา ได้แก่
- ผู้ใหญ่และวัยรุ่นที่มีอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไป และมีน้ำหนักตัวอย่างน้อย 40 กิโลกรัม โดยกรณีอื่นๆ จะพิจารณาตามความเสี่ยงและดุลยพินิจของแพทย์
ทั้งนี้ ผลข้างเคียงที่พบบ่อยที่สุด คือ ปฏิกิริยาบริเวณที่ฉีด โดยส่วนมากมีอาการเล็กน้อย ถึงปานกลางและสามารถหายได้เอง
ขอบคุณข้อมูล : https://pr.moph.go.th/index.php?url=pr/detail/2/02/183699/

**ชวนช้อปแบบฟิน ๆ ที่ Shopee มีค่า นิวส์ รู้มาว่าจัดโปร 3.3 Mega Shopping Sale ถึง 3 มี.ค. 66 ลดสูงสุด 70% โค้ดลดสูงสุด 1,313.- ส่งฟรีขั้นต่ำ 0.- ช้อปเลย >> https://invl.io/clgzmqy