Mekha News (มีค่านิวส์) : เว็บไซต์ข่าว ที่จะนำเสนอข่าวสารเพื่อรักษาสิทธิให้กับคุณ

ร่าง พ.ร.ฎ.กำกับธุรกิจเช่าซื้อรถและลีสซิ่ง ครม.อนุมัติให้อำนาจแบงก์ชาติดูแลตรวจสอบ

นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยมติที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 7 มีนาคม 2566 อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดให้การประกอบธุรกิจทางการเงินบางประเภทอยู่ภายใต้บังคับของพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ.2551 พ.ศ. …. เพื่อให้มีกฎหมายเฉพาะกำกับดูแลธุรกิจเช่าซื้อและการให้เช่าแบบลิสซิ่งรถยนต์และรถจักรยานยนต์ โดยให้ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ร่วมกันหารือเพื่อกำหนดแนวทางให้เกิดความเท่าเทียมในการกำกับดูแลผู้ประกอบธุรกิจ

ทั้งนี้ พบว่า ปัจจุบัน 1 ใน 3 ของการทำธุรกรรมเช่าซื้อ เป็นการเช่าซื้อรถยนต์และการให้เช่าแบบลีสซิ่งรถยนต์และรถจักรยานยนต์ และเป็นการทำธุรกรรมกับสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร ซึ่งยังไม่มีหน่วยงานกำกับดูแลเป็นการเฉพาะ แม้การทำธุรกรรมดังกล่าวจะอยู่ภายใต้การดูแลสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.)

แต่เป็นเพียงการทำหน้าที่รับเรื่องร้องเรียน กำหนดรายละเอียดเนื้อหาของสัญญาเช่าซื้อ โดยเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคในเรื่องของสัญญามาตรฐานและเรื่องทั่วไปเท่านั้น ไม่ได้ควบคุมไปถึงอัตราดอกเบี้ย ทำให้ธุรกิจการให้เช่าซื้อเรียกเก็บอัตราดอกเบี้ยที่ค่อนข้างสูง ส่งผลให้ลูกค้าบางรายไม่สามารถชำระหนี้ได้จนเกิดปัญหาหนี้ครัวเรือนเพิ่มมากขึ้น

ไตรมาสที่ 2 ของปี 2565 มียอดหนี้คงค้างธุรกิจการเช่าซื้อและการให้เช่าแบบลีสซิ่งรถยนต์และรถจักรยานยนต์รวม 1.8  ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 12.3 ของหนี้ครัวเรือนทั้งประเทศ ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ธุรกิจเช่าซื้อรถยนต์เรียกเก็บอัตราดอกเบี้ยที่สูงจนเกินความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้ จึงมีการอนุมัติร่าง พ.ร.ฎ.ดังกล่าว

ร่างพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ มีสาระสำคัญแบ่งเป็น 4 หมวด ดังนี้

1.การกำกับผู้ประกอบธุรกิจ อาทิ

2.การตรวจสอบผู้ประกอบธุรกิจ ธปท. มีอำนาจแต่งตั้งพนักงาน ธปท. หรือบุคคลภายนอกเป็นผู้ตรวจการ เพื่อตรวจสอบกิจการสินทรัพย์และหนี้สินของผู้ประกอบธุรกิจ ตลอดจนลูกหนี้ และบุคคลที่เกี่ยวข้องของผู้ประกอบธุรกิจนั้น  โดยผู้ตรวจการที่ ธปท. แต่งตั้ง มีอำนาจหน้าที่ เช่น

3.การแก้ไขการดำเนินงานของผู้ประกอบธุรกิจ กรณีผู้ประกอบธุรกิจไม่ปฏิบัติตามร่างพระราชกฤษฎีนี้ ให้ ธปท. มีหนังสือเตือนไปยังผู้ประกอบธุรกิจหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องให้ระงับการกระทำอันเป็นการไม่ปฏิบัติตาม หรือมีคำสั่งห้ามกระทำการ

4.บทกำหนดโทษ กำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจที่ไม่ปฏิบัติตามร่างพระราชกฤษฎีนี้ ต้องระวางโทษปรับตามที่กำหนด หากไม่ได้มีการฟ้องต่อศาลภายใน 2 ปีนับแต่วันที่ ธปท. พบการกระทำผิดหรือภายใน 5 ปี นับแต่วันกระทาผิด ถือเป็นอันขาดอายุความ

สำหรับการบังคับใช้ ให้มีผลเมื่อพ้นกำหนด 90 วัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา

**รู้กฏหมายใหม่ ไปช้อปฯสนุก คุ้มยิ่งขึ้น ด้วยบัตร KTC X LAZADA ให้โค้ดส่วนลดและสิทธิประโยชน์เพียบ! มีค่า นิวส์ พาไปสมัคร >> https://invol.co/clh75gx

Exit mobile version