การดูแลสุขภาพดวงตาและการตรวจการมองเห็นด้วยตัวเองเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอมีความสำคัญซึ่งหากพบความผิดปกติ และเข้าสู่ระบบบริการสาธารณสุขทางจักษุและตรวจพบโรคแต่ระยะแรกก็สามารถรักษาและป้องกันการสูญเสียการมองเห็นได้ การคัดกรองโรคตาจึงมีความสำคัญมาก โดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยง ได้แก่
- ผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป
- ผู้มีประวัติครอบครัวสายตรงเป็นต้อหิน
- ผู้ที่ได้รับอุบัติเหตุทางตา
- ผู้มีสายตาสั้นมาก หรือ
- สายตายาวมาก ผู้มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ผู้ที่ใช้ยาสเตียรอยด์
อาการของโรคต้อหิน
- โรคความเสื่อมของประสาทตาที่แทบไม่มีอาการแสดงในระยะเริ่มต้น
- ต่อเมื่อโรคดำเนินไปจนระยะท้ายทำให้ มุมมองของภาพแคบลง รวมถึงอาจสูญเสียลานสายตาและการมองเห็นได้
เป้าหมายของการรักษาต้อหิน คือ เพื่อชะลอความเสื่อมของโรคโดยรักษาการมองเห็น และคงคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ป่วย โดยการรักษาที่ได้ผล คือ
- การควบคุมความดันตาให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมและปลอดภัยต่อประสาทตาด้วยการใช้ยาหยอดลดความดันลูกตา
- การเลเซอร์
- การผ่าตัด
แต่เนื่องจากต้อหินเป็นโรคความเสื่อมการรักษาไม่หายขาด ความเข้าใจโรค ความมีวินัยในการหยอดยา และการหมั่นติดตามการรักษาส่งผลโดยตรงต่อผลลัพธ์ของการรักษา การรักษาทางเลือกอื่น ๆ เช่น อาหารเสริม
ที่มา: สำนักสารนิเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข