Site icon Mekha News (มีค่านิวส์) : เว็บไซต์ข่าว ที่จะนำเสนอข่าวสารเพื่อรักษาสิทธิให้กับคุณ

ซีเซียม-137 อาการ 3 กลุ่ม เช็กเลย! ถ้าสัมผัส ต้องทำยังไง

นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข แถลงถึงการติดตามผลกระทบต่อสุขภาพ เมื่อวันที่ 20 มี.ค. 66 หลังเกิดเหตุท่อเก็บสารกัมมันตรังสี “ซีเซียม-137” (Caesium-137) หายไปจากโรงงานไฟฟ้าพลังงานไอน้ำแห่งหนึ่งใน อ.ศรีมหาโพธิ จ.ปราจีนบุรี อ่านเพิ่มเติม >> ซีเซียม-137 คือ

ซึ่งในส่วนของการดูแลสุขภาพประชาชน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด(สสจ.)ปราจีนบุรี ตั้งศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านสาธารณสุข(ส่วนหน้า) ดูแลแล้ว ทั้งให้ความรู้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยง เฝ้าระวังผลกระทบด้านสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นกับประชาชนและสิ่งแวดล้อมอย่างใกล้ชิด พร้อมเตรียมสถานพยาบาลในพื้นที่เพื่อรองรับผู้ป่วยที่อาจได้รับผลกระทบ

อาการ หากสัมผัส ซีเซียม-137 แบ่งกลุ่มของการเฝ้าระวัง เป็น 3 กลุ่ม ดังนี้

1.กลุ่มผิวหนัง เนื้อเยื่อ อาการจะมีตั้งแต่ตุ่มน้ำใส  เนื้อตาย เป็นต้น

2. กลุ่มอาการทั่วไป คลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะ

3.กลุ่มอื่น ๆ ระยะกลาง และระยะยาว จะไวต่อเซลล์ที่มีการแบ่งตัว เช่น เม็ดเลือดขาว และผม เป็นต้น

ส่วน อันตรายจากการสัมผัส ซีเซียม-137 จะได้รับอันตรายมาก หรือน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณของรังสี อาการที่พบ ส่วนใหญ่มักจะมีอาการ ดังนี้

ทั้งนี้ หากเข้าใกล้ หรือสัมผัสวัตถุต้องสงสัย ข้อปฏิบัติเบื้องต้น ควรทำ ดังนี้

1.ลดการบนเปื้อน โดยล้างตาให้น้ำไหล ผ่านจากหัวตาไปทางหางตาด้วยน้ำสะอาด ล้างมือ อาบน้ำ สระผม และเปลี่ยนเสื้อผ้าทันทีถ้าสามารถทำได้ และควรเก็บเสื้อผ้าใส่ถุงปิดปากใหัสนิท เพื่อตรวจสอบว่ามีการปนเปื้อนสารกัมมันตรังสีหรือไม่

2.ไปลงทะเบียนยังหน่วยงานที่กำหนดให้มีการจัดทำทะเบียนผู้สัมผัสหรืออยู่ในเหตุการณ์ เพื่อการเฝ้าระวังสุขภาพและควบคุมการแพร่กระจายของกัมมันตรังสี

3.ห้ามหยิบจับวัตถุทุกชนิด ห้ามสูบบุหรี่ ห้ามรับประทานอาหารและเครื่องดื่ม ห้ามนำมือสัมผัสบริเวณภายในพื้นที่ที่เจ้าหน้าที่ได้กำหนดไว้ให้เป็นพื้นที่อันตราย

การป้องกันและการปฏิบัติตน

  1. หลีกเลี่ยงการสัมผัสสารกัมมันตรังสีหรือกล่องเหล็กต้องสงสัย
  2. ถ้าอยู่ในที่เกิดเหตุให้ไปลงทะเบียนผู้สัมผัสสารกัมมันตรังสี
    ยังหน่วยงานที่กำหนด
  3. รวบรวมสิ่งของหรือเสื้อผ้าที่จาดว่าอาจมีการปนเปื้อนของ
    สารกัมมันตรังสีให้หน่วยงานที่มีหน้าที่ตรวจสอบก่อนนำไปใช้
  4. ควรล้างมือทุกครั้งก่อนรับประทานอาหารและเครื่องดื่ม
  5. ติดตามข้อมูลสถานการณ์การเกิดเหตุ และปฏิปัติตาม
    ประกาศอย่างเคร่งครัด

อย่างไรก็ตาม ถ้าอาการไม่ดีขึ้น ให้รีบประสาน อสม.หรือ พบแพทย์ที่สถานพยาบาล พร้อมทั้งแจ้งความเสี่ยงสัมผัสต่อเจ้าหน้าที่ได้ทันที ซึ่งผลกระทบจากกัมมันตรังสี ซีเซียม-137 ไม่เทียบเท่ากับ เชอร์โนบิล ที่ยูเครน

อ่านเพิ่มเติม >> ซีเซียม-137 หากมีอาการ หลังสัมผัส ติดต่อที่ไหน

ขอบคุณข้อมูล รูปภาพ : กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข, Atoms4Peace สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ

Exit mobile version