Mekha News (มีค่านิวส์) : เว็บไซต์ข่าว ที่จะนำเสนอข่าวสารเพื่อรักษาสิทธิให้กับคุณ

ซีเซียม-137 คือ

หลังจากข่าวที่ท่อเก็บสารกัมมันตรังสี “ซีเซียม-137” หายไปจากโรงงานไฟฟ้าพลังงานไอน้ำแห่งหนึ่งใน อ.ศรีมหาโพธิ จ.ปราจีนบุรี ล่าสุด เริ่มมีการพูดถึงอันตรายต่อผู้ที่ได้สัมผัสกับสารกัมมันตรังสีที่อาจรั่วไหลหากสัมผัสในปริมาณสูงและยาวนาน มีค่า นิวส์ จึงจะพามาทำความรู้กับ ซีเซียม-137 

อ่านเพิ่มเติม >> ซีเซียม-137 อาการ 3 กลุ่ม เช็กเลย! ถ้าสัมผัส ต้องทำยังไง

อ่านเพิ่มเติม >> ซีเซียม-137 หากมีอาการ หลังสัมผัส ติดต่อที่ไหน

ซีเซียม-137 หรือ Caesium-137 (Sesium-137)  คือ สารกัมมันตรังสี ที่มีลักษณะโลหะอ่อนมาก สีทองเงิน เป็นของเหลวที่อุณหภูมิห้อง แต่มักจะจับตัวกับคลอไรด์ กลายเป็นผงผลึก มีลักษณะเป็นของแข็ง คล้ายผงเกลือ สามารถ ฟุ้งกระจายได้เมื่อแตกออกจากแคปซูลที่ห่อหุ้มไว้ โดยปล่อยรังสีแบบเบต้าและแกมม่า มักนำมาใช้ในโรงงาน และใช้เป็นเครื่องมือทางการแพทย์สำหรับการรักษามะเร็งด้วย

อันตรายจากการสัมผัส ซีเซียม-137 จะได้รับอันตรายมาก หรือน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณของรังสี อาการที่พบ ส่วนใหญ่มักจะมีไข้ คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ถ่ายเหลว ผิวหนังบริเวณที่โดนรังสี จะเกิดแผลไหม้พุพอง ในกรณีสัมผัสปริมาณมาก ส่งผลกระทบต่อระบบเลือด กดไขกระดูก ระบบประสาท ชักเกร็ง และอาจเสียชีวิตได้

นอกจากนี้ หากปนเปื้อนลงในน้ำ จะส่งผลให้เกิดการกลายพันธุ์ในสัตว์ ซึ่งขึ้นอยู่กับปริมาณการรับและการสะสม หากสัตว์รับสารรังสีเข้าไปจะเพิ่มความเข้มข้นสะสมในห่วงโซ่อาหาร แต่ยังไม่มีผลยืนยันที่ชัดเจนว่าจะถึงขั้นเปลี่ยนระบบนิเวศน์ใต้ทะเลได้

ขณะที่ประโยชน์ของ ซีเซียม-137 มักจะนำมาใช้ อาทิ

  1. ใช้ในการผลิต photoelectric cell เพราะเป็นธาตุที่ถูกอิออไนซ์โดยแสงได้ง่าย (เปลี่ยนเป็นอิออนบวกโดยแสงได้อย่างง่ายดาย)
  2. ใช้ผลิต cesium vapor thermionic converter
  3. ใช้ในระบบการผลิตพลังงานและ magnetohyhrodynamic
  4. ใช้เป็นตัวเร่งสำหรับปฏิกิริยาไฮโดรพิเนชันและเชื้อเพลิงจรวด
  5. ซิเซียมไฮดรอกไซด์ (CsOH) ใช้เป็นอิเลกโตรไลต์ของเซลล์สะสมไฟฟ้าแบบด่าง (alkaline stronge batteries)
  6. ซีเซียมคาร์บอเนต (Cs2CO3) ใช้ทำแก้วที่ใช้งานเฉพาะ

ขอบคุณข้อมูล รูปภาพ : Atoms4Peace สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ, สินมั่นคง, กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

Exit mobile version