Site icon Mekha News (มีค่านิวส์) : เว็บไซต์ข่าว ที่จะนำเสนอข่าวสารเพื่อรักษาสิทธิให้กับคุณ

ไซยาไนด์ คือ

จากข่าวที่ผู้หญิงรายหนึ่งวูบหมดสติขณะปล่อยปลา ก่อนจะเสียชีวิตปริศนา โดยพบว่าเธอเดินทางไปกับหญิงสาวชื่อ แอม ตำรวจจึงคุมตัวมาสอบสวน พร้อมกับตรวจค้นบ้านพัก พบชวดไซยาไนด์ ซึ่งสอดคล้องกับผลการผ่าพิสูจน์ของผู้เสียชีวิต มีค่า นิวส์ เลยจะพามาทำความรู้จักกับ ไซยาไนด์ คือ สารอะไร ออกฤทธิ์ และมีอันตรายอย่างไรบ้าง

ไซยาไนด์ (Cyanide) คือ สารเคมีอันตรายที่ออกฤทธิ์ได้อย่างรวดเร็ว เมื่อเข้าสู่ร่างกายอาจเข้าไปยับยั้งการทำงานของเซลล์ จนอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต มักนำมาใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตกระดาษ สิ่งทอ และพลาสติก สามารถปนเปื้อนได้ทั้งในอากาศ ดิน น้ำ และ อาหาร

ไซยาไนด์ เป็นสารอันตรายที่มีหลากหลายรูปแบบ ทั้งในรูปแบบของแข็ง ของเหลว และแก๊ส โดยแต่ละชนิดมีแหล่งที่มาและคุณสมบัติที่แตกต่างกันไป 

เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ โดยพบในพืชบางชนิด อย่างอัลมอนด์ แอปเปิล และยังเกิดได้จากกระบวนการเผาผลาญภายในร่างกายมนุษย์ อย่างไรก็ตาม ไซยาไนด์ปริมาณเพียงเล็กน้อยที่พบในพืช และกระบวนการเผาผลาญนั้นไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต หรือพบในพืช เช่น หัวมัน กรอย ถ้าผ่านความร้อนปรุงสุก ก็รับประทานได้ปลอดภัย

อาการหากไซยาไนด์เข้าสู่ร่างกาย แบ่งเป็น 2 ภาวะ ดังนี้

1.ภาวะเป็นพิษแบบเฉียบพลัน พบได้ยาก เกิดขึ้นในทันที เช่น เวียนศีรษะ คลื่นไส้ หายใจติดขัด เลือดไหลเวียนผิดปกติ สมองบวม ชัก หมดสติ และ หัวใจหยุดเต้น เป็นต้น

2.ภาวะเป็นพิษแบบเรื้อรัง ได้รับปริมาณเล็กน้อยต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน ปวดศีรษะ ง่วงซึม คลื่นไส้ อาเจียน เกิดผื่นแดง และอาจมีอาการอื่น ๆ เกิดขึ้นตามมา เช่น รูม่านตาขยาย ตัวเย็น อ่อนแรง หายใจช้า เป็นต้น หากไม่ได้รับการรักษาเป็นเวลานาน อาจทำให้หัวใจเต้นช้า หรือเต้นผิดปกติ ผิวหนังบริเวณใบหน้าและแขนขากลายเป็นสีม่วง โคม่า เสียชีวิต

อ่านเพิ่มเติม >> How To แก้พิษ ไซยาไนด์

ขอบคุณข้อมูล และรูปภาพ Doctor D

Exit mobile version