Site icon Mekha News (มีค่านิวส์) : เว็บไซต์ข่าว ที่จะนำเสนอข่าวสารเพื่อรักษาสิทธิให้กับคุณ

กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา คืออะไร

หลังจากมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 6 มิถุนายน 2566 รับทราบรายงานประจำปี 2565 กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ในภาพรวม สามารถช่วยเหลือเด็ก เยาวชน และประชาชนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์หรือด้อยโอกาสให้เข้าถึงการศึกษา รวม 1,396,208 คน มีค่า นิวส์ เลยจะพามาทำความรู้จักกองทุนนี้กันค่ะ

กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา จัดตั้งขึ้นตามข้อเสนอของคณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา โดยปรากฎในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 มาตรา 54 พ.ร.บ.กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา พ.ศ.2561 ประกาศใช้บังคับเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2561 มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเสมอภาคทางการศึกษา ช่วยเหลือผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา รวมทั้งเสริมสร้างและพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพครู โดยให้รัฐเป็นผู้จัดสรรงบประมาณให้กองทุน และมีการบริหารงานที่เป็นอิสระ

มีการดำเนินการสำคัญ ดังนี้

1.มาตรการเร่งด่วน ช่วยเหลือเด็กและเยาวชนที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 และการชะลอตัวของภาวะเศรษฐกิจไทย เช่น โครงการพาน้องกลับมาเรียน ของกระทรวงศึกษาธิการ โดยระดมเงินบริจาคจากภาคเอกชน เพื่อสร้างโอกาสทางการศึกษาให้แก่ นักเรียนทุนเสมอภาคระดับชั้น ป.6 และ ม. 3 จำนวน 103,987 คน ให้กลับเข้าสู่ระบบการศึกษา และการจัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือเด็กและเยาวชนในภาวะวิกฤตทางการศึกษา  ช่วยเด็กและเยาวชนที่มีความเสี่ยงหลุดจากระบบการศึกษา จำนวน 302 คน ในพื้นที่ 4 จังหวัดนำร่อง คือ พิษณุโลก  ขอนแก่น ยะลา และกรุงเทพมหานคร

2.การดำเนินโครงการเพื่อส่งเสริม พัฒนา และช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ ได้แก่

2.1 กลุ่มเด็กปฐมวัย  (ระดับการศึกษาภาคบังคับชั้น ป.1-ม. 3)

2.2 กลุ่มเยาวชน ในระดับการศึกษา สูงกว่าภาคบังคับ

2.3 กลุ่มเยาวชน นอกระบบการศึกษา และประชากร วัยแรงงาน

2.4 กลุ่มครู  โรงเรียน และหน่วยจัดการเรียนรู้

3.การดำเนินงานเชิงพื้นที่เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา เช่น การพัฒนาระบบข้อมูลเพื่อการทำงานระดับพื้นที่และการประเมิน เพื่อการพัฒนา โดยคาดหวัง ให้เกิด “แผนบูรณาการระดับจังหวัด” ครอบคลุม 12 จังหวัด ทั่วประเทศ เช่น จ. แม่ฮ่องสอน ลำปาง พะเยา พิษณุโลก และสุโขทัย

4.การวิจัยและนวัตกรรมด้านการศึกษา  พัฒนาองค์ความรู้จากการวิจัยและพัฒนา นวัตกรรมด้านการศึกษาเพื่อสร้างความเสมอภาคทางการศึกษา รวม 24 ชิ้นงาน ครอบคลุม งานวิจัยด้านนวัตกรรมระบบเทคโนโลยีและข้อมูลสารสนเทศเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา และงานวิจัยด้านการประเมินผล

ขอบคุณข้อมูล กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา, รัฐบาลไทย

Exit mobile version