Site icon Mekha News (มีค่านิวส์) : เว็บไซต์ข่าว ที่จะนำเสนอข่าวสารเพื่อรักษาสิทธิให้กับคุณ

How To นำเข้า mou ออนไลน์ ไทย กัมพูชา

กรมการจัดหางาน ประชุมหารือร่วมกับกรมแรงงาน กระทรวงแรงงานและฝึกอาชีพแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา และคณะ เกี่ยวกับการบริหารจัดการแรงงานกัมพูชาในประเทศไทย โดยฝ่ายไทยเสนอแนวทางการบริหารจัดการแรงงานกัมพูชาตาม MOU ที่วาระการจ้างงานครบ 4 ปี **ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2565 ถึง 31 กรกฎาคม 2566 ตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2566 ซึ่งคาดว่ามีประมาณ 40,000 คน นำระบบออนไลน์มาให้บริการเพื่อความสะดวกรวดเร็ว และปรับขั้นตอนให้แรงงานที่เดินทางกลับประเทศต้นทาง สามารถเดินทางกลับเข้ามาในประเทศไทย โดยไม่ต้องมีระยะเวลาพัก 30 วัน

สำหรับขั้นตอน นำเข้า mou ออนไลน์ ไทย กัมพูชา มี 9 ขั้นตอน ดังนี้

1.นายจ้างยื่น Demand และแนบบัญชีรายชื่อแรงงาน เอกสารที่เกี่ยวข้องของแรงงานผ่านระบบออนไลน์ >> www.cambodia-doe.com

2.กรมการจัดหางาน ตรวจสอบและรับรองเอกสารที่เกี่ยวข้องผ่านระบบออนไลน์

3.ฝ่ายกัมพูชาพิจารณารับรองเอกสารและส่งบัญชีรายชื่อแรงงานผ่านระบบออนไลน์

4.กรมการจัดหางาน พิมพ์บัญชีรายชื่อแรงงานออกจากระบบ พร้อมทั้งรับรอง และส่งบัญชีรายชื่อแรงงานให้นายจ้าง

5.นายจ้างยื่นขออนุญาตทำงานแทนคนต่างด้าวและชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตทำงาน ณ สำนักงานจัดหางานจังหวัด และสำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่

6.กรมการจัดหางาน มีหนังสือแจ้งสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงพนมเปญ สำนักงานจัดหางานจังหวัดสระแก้ว และสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง

7.ด่านตรวจคนเข้าเมือง (ขาออก) ตรวจสอบแรงงานในการเดินทางกลับประเทศ

8.สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงพนมเปญดำเนินการออก Visa ให้แก่แรงงาน

9.ด่านตรวจคนเข้าเมือง (ขาเข้า) ตรวจสอบแรงงานที่เดินทางออกจากประเทศต้นทาง เพื่อกลับเข้ามาในประเทศไทย

สำหรับกรณีแรงงานต่างด้าว สัญชาติกัมพูชาตามมติ ครม. วันที่ 5 กรกฎาคม 65 และมติ ครม. วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2566 ที่ได้ดำเนินการขออนุญาตทำงานไว้เรียบร้อยแล้ว แต่ไม่สามารถจัดทำหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางได้ทันภายในวันที่ 15 พฤษภาคม 2566 ครม.มีมติเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2566 ผ่อนผันให้อยู่ในราชอาณาจักรเพื่อทำงาน พร้อมกับจัดทำเอกสารดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 31 กรกฎาคม 2566

ฝ่ายไทยจึงขอให้ฝ่ายกัมพูชาเร่งรัดดำเนินการออกเอกสารประจำตัวให้แรงงานกัมพูชา เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับการตรวจสอบและยืนยันข้อมูลในการพิจารณาออกเอกสารฉบับใหม่ และดำเนินการตรวจลงตราให้ทันภายในวันที่ 31 กรกฎาคม 2566 เพื่อได้รับการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ที่พึงได้รับ

นอกจากนี้ ฝ่ายกัมพูชายังหารือในประเด็นการปรับลดค่าธรรมเนียมการตรวจลงตรา (VISA) จาก 2,000 ลดลงเหลือ 500 บาท ซึ่งฝ่ายไทยจะนำเสนอคณะรัฐมนตรีชุดใหม่พิจารณาต่อไป

Exit mobile version