นางรัดเกล้า อินทวงศ์ สุวรรณคีรี รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยมติที่ประชุม ครม. วันที่ 28 พฤศจิกายน 2566 รับทราบผลการดำเนินการ มาตรการ Quick Win นโยบาย 30 บาทพลัส และข้อเสนอแนะมาตรการหารือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนเกี่ยวกับกรณีการ ป้องกันภาวะความพิการแต่กำเนิด
1.นโยบาย 30 บาทพลัส ที่ครอบคลุมการดูแลสุขภาพในทุกมิติ ทั้งการส่งเสริม ป้องกัน รักษา และ ฟื้นฟูสุขภาพ เพื่อสร้างสุขภาวะที่ดีของคนไทย ผ่านนโยบาย 12 ประเด็น โดย 1 ในนั้น คือ นโยบายมะเร็งครบวงจร ซึ่งมะเร็งปากมดลูกเป็นสาเหตการเสียชีวิตอันดับ 1 ของหญิงไทย โดยมีเป้าหมายลดอัตราการเสียชีวิตจาก 11/100,000 ประชากร เหลือเป็น 4/100,000 ประชากร ซึ่งการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัส HPV อันเป็นสาเหตุสำคัญของโรคมะเร็งปากมดลูก 1,000,000 โดสในหญิงอายุ 11-20 ปี เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยได้ปีละอย่างน้อย 4,000 คน ซึ่งตั้งแต่ 8-27 พฤศจิกายน 2566 เฉลี่ยวันละ 40,794 เข็ม ฉีดสะสมไปแล้ว 507,506 เข็ม
2.มาตรการป้องกันภาวะความพิการแต่กำเนิดก่อนการตั้งครรภ์
- ระยะสั้น ให้ สธ. สปสช. และ สปส. ปรับปรุงเพิ่มสิทธิการเข้าถึงบริการกรดโฟลิกของหญิงไทยที่เป็นผู้ประกันตนตามสิทธิประกันสังคม รวมถึงการขยายสิทธิให้สามารถเข้ารับบริการผ่านแอปพลิเคชันเป๋าตังค์หรือบริการส่งวิตามินทางไกล
- ระยะกลาง ขยายสิทธิไปยังแรงงานต่างด้าวที่เป็นผูประกันตน และดำเนินการเชิงรุก ผ่านการส่งเสริมการแจกกรกโฟลิกในสถานประกอบการขนาดใหญ่
- ระยะยาว ขยายสิทธิไปยังกลุ่มคนไร้รัฐไร้สัญชาติและแรงงานต่างดาวที่เข้าเมืองผิดกฎหมาย ให้ได้รับสิทธิเช่นเดียวกับประชาชนไทย
3.มาตรการป้องกันภาวะความพิการแต่กำเนิดระหว่างการตั้งครรภ์
- ระยะสั้น ให้ สธ. สปสช. และ สปส. ปรับปรุงเพิ่มวงเงินถัวเฉลี่ยให้ครอบคลุมการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม รวมถึงเพิ่มตัวเลือกให้หญิงตั้งครรภ์เลือกตรวจคัดกรอง โดยเสียค่าใช้ส่วนต่างที่ไม่ครอบคลุม และขยายสิทธิไปยังแรงงานต่างด้าวที่เป็นผู้ประกันตน
- ระยะกลาง ขยายสิทธิไปยังกลุ่มคนไร้รัฐไร้สัญชาติและแรงงานต่างดาวที่เข้าเมืองผิดกฎหมาย ให้ได้รับสิทธิเช่นเดียวกับประชาชนไทย
- ระยะยาว เปลี่ยนแปลงการตรวจคัดกรองเบื้องต้นมาเป็นแบบ NIPT (Non-Invasive Prenatal Testing การตรวจคัดกรองความผิดปกติของโครโมโซมทากในครรภ์จากเลือดมารดา) โดยเริ่มจากกลุ่มเสี่ยงที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป เป็นประชาชนชาวไทยทั่วไป