ถาม : สมรสเท่าเทียม ได้สิทธิอะไรบ้าง ?
ตอบ : หลังสภารับหลักการร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือ ที่รู้จักกันในนามของกฎหมาย สมรสเท่าเทียม กระทั่งสภาผู้แทนราษฏรผ่านวาระ 3 ด้วยคะแนน 400 เสียงอย่างเป็นเอกฉันท์ ก่อนจะนำเสนอให้กับวุฒิสภาพิจารณาอีกชั้นหนึ่ง จากนั้นจึงจะมีผลบังคับใช้ มีค่า นิวส์ เลยจะพามาส่องว่า กฏหมายฉบับนี้ เราจะได้สิทธิอะไรบ้าง อ่านเพิ่มเติม >> กฎหมาย สมรสเท่าเทียม ล่าสุด ครม.อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม ส่องที่นี่!
สมรสเท่าเทียม ล่าสุด 2567 ต่างจากกฎหมายเดิมอย่างไร
1.การหมั้น ให้สิทธิ บุคคลทั้งสองฝ่าย ผู้หมั้น และ ผู้รับหมั้น / จากกฏหมายเดิม กำหนดให้แค่ ชายและหญิง
2.อายุหมั้นและสมรส สามารถทำได้ตั้งแต่อายุ 18 ปี / จากกฏหมายเดิม กำหนดที่อายุ 17 ปี
3.เพศ ให้ทุกเพศสมรสกันได้ / จากกฎหมายเดิม กำหนดแค่ ชายกับหญิง
4.สถานะหลังจดทะเบียนสมรส ให้ใช้คำว่า คู่สมรส / จากกฏหมายเดิม ให้ใช้ว่า สามี ภริยา
5.ฟ้องหย่ากรณีมีชู้เพศเดียวกัน สามารถทำได้ / จากกฏหมายเดิม ทำไม่ได้
สำหรับสิทธิประโยชน์ สมรสเท่าเทียม มีดังนี้
- สิทธิจัดการทรัพย์สินของคู่สมรส
- สิทธิเป็นผู้จัดการแทนในทางอาญา
- สิทธิประโยชน์ “คู่สมรส”
- สิทธิรับมรดกหากอีกฝ่ายเสียชีวิต
- สิทธิรับบุตรบุญธรรม
- สิทธิการลงนามยินยอมให้รักษาพยาบาลอีกฝ่าย
- สิทธิจัดการศพ
- สิทธิได้รับประโยชน์ และสวัสดิการจากรัฐในฐานะคู่สมรส
- สิทธิเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาล