เรืองไกร ลีกิจวัฒนะ เกิดวันที่ 26 สิงหาคม 2504 ปัจจุบันอายุ 63 ปี ภูมิลำเนาเป็นคนอำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นบุตรของนายสุขุม และนางจารุวรรณ ลีกิจวัฒนะ จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนบุรีรัมย์พิทยาคม และปริญญาตรีบริหารธุรกิจ(บัญชี) มหาวิทยาลัยรามคำแหง ปริญญาโทบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ชีวิตครอบครัว สมรสกับนางอโนทัย ลีกิจวัฒนะ มีบุตร 2 คน
เรืองไกร เป็นที่รู้จักเป็นครั้งแรกของสังคมด้วยการปรากฏเป็นข่าวเมื่อต้นปี 2549 ว่ากรมสรรพากรได้คืนเช็คให้แก่นายเรืองไกร แต่นายเรืองไกรไม่ได้ไปขึ้นเงิน เพราะเป็นกรณีเปรียบเทียบกับกรณีที่กรณีตระกูลชินวัตรและดามาพงศ์ขายหุ้นกลุ่มบริษัทชินคอร์ปได้
ซึ่ง เรืองไกร ซื้อหุ้นบริษัท ทางด่วนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ต่อจากบิดาในราคา 10 บาท จากราคาตลาด 21 บาท ต้องเสียภาษี แต่กรณีของตระกูลชินวัตรและดามาพงศ์กลับไม่ต้องเสียภาษี และนายเรืองไกรยังได้ยื่นฟ้องร้องเรื่องการที่กรมสรรพากรกระทำการนี้ด้วยสองมาตรฐานอีกด้วย
จากกรณีนี้ทางฝ่ายพรรคไทยรักไทยและกลุ่มผู้สนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้กล่าวหาว่า เรืองไกร มีความสนิทสนมกับคุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา อดีตผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ซึ่งฝ่ายที่สนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณ ถือว่าเป็นบุคคลที่อยู่ตรงข้ามกับฝ่ายตน ก่อนที่ เรืองไกร จะสมัครลงเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภากรุงเทพมหานคร แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง
หลังจากนั้น ชื่อของ เรืองไกร ปรากฏเป็นข่าวอีกว่าได้ยื่นฟ้องร้อง นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ว่าการจัดรายการโทรทัศน์ชิมไป บ่นไป ทางช่อง 3 เป็นการผิดรัฐธรรมนูญมาตรา 267 ในเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน หรือไม่ ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญก็ได้ตัดสินให้นายสมัครพ้นจากตำแหน่ง
กลางเดือนกุมภาพันธ์ 2553 เรืองไกร ไปร่วมเสวนากับทางกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) หลายต่อหลายครั้ง โดยเริ่มจากการเสวนาของกลุ่มกรุงเทพ 50 ที่โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ จนถูกตั้งข้อสงสัยถึงเรื่องจุดยืน
ต่อมา เรืองไกร ได้เป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทย และในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป ปี 2557 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย แต่ภายหลังรัฐประหารในประเทศไทย 2557 คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ออกคำสั่งเรียกเขาให้ไปรายงานตัว
จากนั้นไม่นาน นายวัชระ เพชรทอง อดีต ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ เป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง เรืองไกร กับธาริต เพ็งดิษฐ์ อดีตอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) เป็นจำเลยที่ 1-2 ในความผิดฐานแจ้งความเท็จ ให้พนักงานจดแจ้งข้อความอันเป็นเท็จ และหมิ่นประมาท
ในปี 2564 เรืองไกร สมัครเป็นสมาชิกพรรคพลังประชารัฐ ต่อมา มกราคม 2565 เขาได้ลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคพลังประชารัฐ สืบเนื่องมาจากพรรคถอนออกจากร่วมรัฐบาล และ กลับเข้ามาสมัครเป็นสมาชิกใหม่อีกรอบ เมื่อ ธันวาคม 2565
ล่าสุด เรืองไกร ปรากฏเป็นข่าวอีกครั้ง ในปี 2567 โดยเขาได้ ยื่น กกต. ตรวจสอบคุณสมบัตินายกรัฐมนตรี “แพทองธาร” ปมลาออกกรรมการ 20 บริษัทในวันเดียว และอ่้างว่าเป็นการปล่อยให้ “ทักษิณ” ครอบครองตำแหน่งนายกฯ
ขอบคุณข้อมูล วิกิพิเดีย