Mekha News (มีค่านิวส์) : เว็บไซต์ข่าว ที่จะนำเสนอข่าวสารเพื่อรักษาสิทธิให้กับคุณ

สมรสเท่าเทียม สรุป แบบเข้าใจง่าย

แน่นอนว่าหลังจาก วันที่ 23 มกราคม 2568 การสมรสที่จากเดิมจะต้องเป็น “ชายและหญิง” เท่านั้นที่สามารถจดทะเบียนได้ ก็จะเปลี่ยนเป็น “บุคคลและบุคคล” ซึ่งหมายความว่า ไม่ว่าจะเป็นเพศไหนก็จดทะเบียนตามกฎหมายได้

แต่หลายคนอาจจะกำลังสงสัยว่า การเปลี่ยนแปลงกฎหมายในครั้งนี้ เราต้องเตรียมตัวอะไรบ้าง เพื่อให้สามารถจดทะเบียนสมรสได้ตามกฎหมาย มีค่า นิวส์ สรุปมาให้ค่ะ

คุณสมบัติและเงื่อนไขการสมรสเท่าเทียม

1.ทั้งสองฝ่ายอายุครบ 18 ปี แต่ในกรณีมีเหตุอันสมควร ศาลอาจอนุญาตให้ทำการสมรสก่อนนั้นได้

2.ต้องการทำการสมรสใหม่เมื่อสมรสเก่าได้ผ่านพ้นไปอย่างน้อย 310 วัน เว้นแต่

3.สมรสไม่ได้ถ้าเป็นบุคคลวิกลจริต หรือคนไร้ความสามารถ

4.พี่น้องร่วมบิดามารดา หรือร่วมแต่บิดามารดา

5.บุคคลที่มีคู่สมรสอยู่แล้ว

6.พ่อแม่ และบุตรบุญธรรม

เอกสารที่ต้องใช้ในการจดทะเบียนสมรสเท่าเทียม

1.บัตรประชาชน กรณีชาวต่างชาติต้องมีหนังสือเดินทาง หรือเอกสารอื่น ๆ ที่สามารถใช้แสดงตัวบุคคลได้

2.สัญญาก่อนสมรส (ถ้ามี)

3.พยาน 2 คนอายุ 20 ปีขึ้นไป

4.หนังสือรับรองสถานภาพที่แสดงว่าไม่มีคู่สมรสในขณะที่จะจดสมรส (สำหรับชาวต่างชาติ)

5.หนังสือยินยอม (กรณีที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ)

จดทะเบียนสมรสแล้วมีสิทธิอะไรบ้าง

  1. คู่สมรสมีหน้าที่ต้องอุปการะเลี้ยงดูซึ่งกันและกัน
  2. คู่สมรสมีสิทธิในการใช้ชื่อสกุลของคู่สมรสอีกฝ่าย
  3. มีสิทธิจัดการทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรส หรือที่เรียกว่าสินสมรสร่วมกัน
  4. มีสิทธิรับมรดกของคู่สมรสเมื่ออีกฝ่ายเสียชีวิตไปก่อน
  5. มีสิทธิรับเงินจากทางราชการ หรือนายจ้าง เช่น กรณีที่คู่สมรสตายเพราะปฏิบัติหน้าที่ หรือจากการทำงาน (บำเหน็จตกทอด) หรือ การรับเงินสงเคราะห์บุตรตามกฎหมายแรงงาน
  6. มีสิทธิฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย หรือค่าทดแทนจากผู้ที่ทำให้คู่สมรสของตัวเองเสียชีวิตได้
  7. สามารถเรียกร้องสิทธิของตัวเองได้ตามกฎหมาย เมื่อพบว่าคู่สมรสมีชู้ ก็สามารถเรียกค่าเสียหายได้ทั้งจากคู่สมรสและชู้
  8. ได้รับการลดหย่อนค่าภาษีเงินได้ตามเงื่อนไขการลดหย่อนภาษี
  9. คู่สมรสที่ทำความผิดระหว่างกัน เช่น สามีขโมยเงินภรรยา ภรรยาบุกเข้าบ้านสามี ผู้ที่ทำผิดไม่ต้องรับโทษตามกฎหมาย
  10. การจดทะเบียนสมรสทำให้คู่สมรสฟ้องร้องดำเนินคดีกับผู้ที่ทำร้ายคู่สมรสของตัวเองได้ เช่น หากคู่สมรสฝ่ายหนึ่งถูกโจรปล้น คู่สมรสอีกฝ่ายก็สามารถฟ้องร้องดำเนินคดีแทนได้

สถานที่จดทะเบียนสมรสและหย่า

*หมายเหตุ :

ถ้าเราต้องหย่ากัน มี 3 กรณี

หย่าโดยความยินยอมของทั้งสองฝ่ายสามารถดำเนินการโดย 2 วิธี

เอกสารที่ต้องใช้ในการหย่า

ขอบคุณภาพ ข้อมูล บางกอก ไพรด์

Exit mobile version