Site icon Mekha News (มีค่านิวส์) : เว็บไซต์ข่าว ที่จะนำเสนอข่าวสารเพื่อรักษาสิทธิให้กับคุณ

แมลงริ้นฝอยทราย คือ

กรณีกรมควบคุมโรคแถลงเรื่องพบการติดเชื้อโรคลิชมาเนีย (LEISHMANIASIS) ในผู้ป่วยชาวต่างชาติที่เดินทางมาจากประเทศในตะวันออกกลางมายังประเทศไทย รวมถึงในปี 2568 ได้รับรายงานผู้เสียชีวิตจำนวน 2 ราย ที่จังหวัดสงขลา 1 ราย และกรุงเทพมหานคร 1 ราย เราจึงควรเฝ้าระวัง ซึ่งโรคนี้สามารถรับมือป้องกันแบบเดียวกับโรคไข้เลือดออก โดยระวังไม่ให้ยุงหรือ แมลงริ้นฝอยทราย กัด มีค่า นิวส์ จึงจะพามาทำความรู้จักกับ แมลงริ้นฝอยทราย

แมลงริ้นฝอยทราย คือ แมลงที่เป็นพาหะนำ โรคลิชมาเนียซิส (LEISHMANIASIS) ตัวเล็กกว่ายุง 4-5 เท่า อาจมีสีดำ ขาว น้ำตาล มีขนปกคลุมทั่วตัว รูปปึกเหมือนปลายหอก ปีกตั้งเป็นรูปตัว V ตัวเมียกินเลือดทั้งคนและสัตว์ หากินไม่ไม่ไกลจากแหล่งอาหาร ออกหากินมากตอนพลบค่ำ และออกหากินตลอดทั้งคืน ช่วงกลางวันบริเวณที่มืดครึ้ม ก็ออกหากินได้เหมือนกัน ตัวเมียจะวางไข่ตามพื้นดินชื้นแฉะที่มีอินทรีย์สารสูง เช่น คอกสัตว์ กองขยะ ใบไม้ทับถม รูหนู โพรงไม้ โพรงดิน เป็นต้น

สำหรับโรคลิชมาเนีย หรือ ลิชมาเนียซิส สามารถติดต่อสู่คนที่อาศัยอยู่ใกล้แหล่งเพาะพันธุ์ของ ริ้นฝอยทราย เช่น พื้นที่ป่า พื้นที่เกษตรกรรม หากเข้าป่าไปตัดฟืน หาของป่า ล่าสัตว์ อยู่เป็นประจำ ควรสวมเสื้อผ้าปกปิดทั่วร่างกาย และเก็บกวาดบริเวณใกล้บ้านให้ปราศจากรูหนู กองไม้ กองขยะ กองพื้น แหล่งใบไม่ทับถม โพรงไม้ เพื่อป้องกันเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ รื้นฝอยทราย รวมถึงดูแลสัตว์เลี้ยง ได้แก่ สุนัข แมว วัว ควาย ไม่ให้ ริ้นฝอยทราย มากัดกินเลือดได้

อาการของโรค เกิดได้ 3 ลักษณะ คือ

1.เกิดแผลที่ผิวหนัง เช่น ตุ่มนูนพองใสและแดง แผล ซึ่งอาจเป็นแผลเปียก หรือแผลแห้ง แผลมักมีขอบ อาจแผลเดียวหรือหลายแผล แผลลุกลามรวมกันเป็นแผลใหญ่ได้ หรือเป็นตุ่ม ๆ กระจายทั่วตัว

2.มูกเป็นแผลตามใบหน้าโพรงจมูก ปาก และลำคอ อาจทำให้รูปหน้าผิดไปจากเดิม มีไข้ ซีด อ่อนเพลีย นํ้าหนักลด หากอาการรุนแรงและไม่ได้รับการรักษาก็ถึงกับเสียชีวิตได้

3.พยาธิสภาพกับอวัยวะภายใน คือ ไข้เรื้อรังมากกว่า 10 วัน ผอม ซีด ม้ามโต ตับโต ผู้ป่วยหลังให้การรักษาจนหายแล้วอาจปรากฏอาการทางผิวหนัง เช่น ตุ่มนูน ปื้น ด่างดวง หรือหลายลักษณะร่วมกัน

การรักษา : ยารักษามีทั้งชนิดทาแผล รับประทาน และฉีด แต่ยาประเภทหลังมีอาการข้างเคียงค่อนข้างรุนแรงต่อผู้ป่วยซึ่งต้องอยู่ภายใต้การดูแลอย่างใกล้ชิดของแพทย์ในโรงพยาบาล ชื่อยารักษา เช่น เพนตะวาเลนท์แอนติโมเนียล (Pentavalent Antimonials), เพนทามิดีน(Pentamidine), พาโรโมมัยซิน ซัลเฟต (Paromomycin sulfateSulfate), มิเลทโฟซีน (Miletefosine)คีโทโคนาโซล (Ketoconazole) เป็นต้น

ขอบคุณข้อมูล สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย, กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

Exit mobile version