หน้าฝนเหมาะกับการเจริญเติบโตของเห็ดป่าและเห็ดขึ้นเองตามธรรมชาติหลากหลายชนิด ทั้งเห็ดกินได้ และเห็ดพิษ ซึ่งมีลักษณะคล้ายกันมาก จนไม่สามารถแยกได้ด้วยตาเปล่า โดยเฉพาะในระยะตูม เราจะพามาส่อง 15 เห็ดมีพิษ ที่ห้ามกิน มีชนิดไหนบ้าง
- เห็ดระโงกเหลืองก้านต้น
- เห็ดกระโดงตีนตัน
- เห็ดคล้ายเห็ดโคน
- เห็ดข่า
- เห็ดขี้ควาย
- เห็ดตอมกล้วยแห้ง
- เห็นระโงกหิน
- เห็ดไข่
- เห็ดมันปูใหญ่
- เห็ดดอกกระถิน
- เห็ดแดงก้านแดง
- เห็ดเผาะ (มีราก)
- เห็ดขี้วัว
- เห็ดไข่หงษ์
- เห็ดโคนส้ม
ต้องสังเกตดี ๆ เห็ดที่มีลักษณะใกล้เคียงกันมาก กินผิด มีพิษกับร่างกาย
- เห็ดไข่ ทานไม่ได้ แต่เห็ดไข่เหลือง ทานได้
- เห็ดระโงกหิน ทานไม่ได้ แต่เห็ดระโงกขาว ทานได้
- เห็ดมันปูใหญ่ ทานไม่ได้ แต่เห็ดมันปู ทานได้
- เห็ดเผาะที่มีราก ทานไม่ได้ แต่เห็ดเผาะที่ไม่มีราก ทานได้
- เห็ดโคน ทานได้ แต่มีเห็ดที่มีลักษณะคล้ายเห็ดโคน แต่ไม่ใช่เห็ดโคน ที่ทานไม่ได้

อาการเมื่อกิน เห็ดมีพิษ
- คลื่นไส้
- อาเจียน
- ปวดท้อง ถ่ายอุจจาระเหลว
- หากมีอาการรุนแรงมาก การทำงานของตับ และไตอาจล้มเหลว จนถึงขั้นเสียชีวิตได้!
วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น
หากมีอาการหลังกินเห็ด ให้กินผงถ่านคาร์บอน (ถ้ามี) เพื่อดูดซับพิษและจิบน้ำเพื่อชดเชยของเหลวที่เสียไป ข้อสำคัญ คือ รีบไปสถานพยาบาลใกล้บ้านให้เร็วที่สุด แจ้งประวัติการกินเห็ด นำตัวอย่างเห็ดที่เหลือ หรือภาพถ่ายเห็ดไปด้วย *ไม่ควรกระตุ้นให้อาเจียน เพราะอาจสำลักติดเชื้อจากการกินไข่ขาวดิบที่ปนเปื้อน เกิดบาดแผลในคอและช่องปาก ความดันต่ำ หรือระดับเกลือแร่ผิดปกติจากการอาเจียนที่มากเกินไปฃ
การป้องกัน
ท่องไว้ว่า “เห็ด ไม่รู้จัก ไม่แน่ใจ ไม่เก็บ ไม่กิน” ควรเลือกซื้อเห็ดจากร้านค้า เลือกเฉพาะเห็ดที่นิยมทานกันทั่วไปอย่างเห็ดฟาง เห็ดหูหนู เห็ดออรินจิ เห็ดนางฟ้า เห็ดเข็มทอง เห็ดหอม *และไม่กินเห็ดดิบ หรือกินเห็ดร่วมกับแอลกอฮอล์ เพราะจะทำให้เกิดพิษ
ขอบคุณข้อมูล กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข