น้องๆที่จบการศึกษา ในระดับปริญญาตรี / ปวส. ปวช. หรือ มัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) แต่ยังไม่ได้งานทำ รวมถึงกำลังมองหางานอยู่ รู้หรือไม่ว่า รัฐบาลมีโครงการ Co-Payment จ้างงานเด็กจบใหม่! มีค่า นิวส์ เลยจะพาน้องๆ มาทำความรู้จักกับโครงการนี้ และวิธีลงทะเบียนผ่านทางเว็บไซต์ของโครงการ https://www.จ้างงานเด็กจบใหม่.com
โครงการ Co-Payment จ้างงานเด็กจบใหม่ คือ
โครงการที่กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงานเสนอคณะรัฐมนตรี เพื่อส่งเสริมการจ้างงานสำหรับผู้จบการศึกษาใหม่ กรอบวงเงิน 1.94 หมื่นล้านบาท เพื่อช่วยเหลือผู้จบการศึกษาใหม่ 2.6 แสนอัตราให้มีงานทำ และช่วยเหลือสถานประกอบการให้ดำเนินธุรกิจต่อเนื่อง โดยรัฐบาลจะอุดหนุนค่าจ้างแก่ลูกจ้าง ไม่เกิน 12 เดือน ต่อ 1 คน จำนวนร้อยละ 50 ของเงินเดือนตามวุฒิการศึกษา สูงสุดไม่เกิน 7,500 บาท ต่อเดือนต่อคน ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2563 – วันที่ 30 พฤศจิกายน 2564 ได้แก่
– ปริญญาตรี ไม่เกิน 7,500 บาท
– ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ไม่เกิน 5,750 บาท
– ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ไม่เกิน 4,700 บาท
– มัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) ไม่เกิน 4,345 บาท
อยากลงทะเบียนเข้าร่วม ต้องมีคุณสมบัติ และเงื่อนไขยังไง?
1.มีสัญชาติไทย อายุไม่เกิน 25 ปี หรือ อายุเกินกว่า 25 ปี ซึ่งจบการศึกษา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป
2.สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี / ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6)
3.ต้องลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการฯ ผ่านระบบจ้างงานเด็กจบใหม่.com เท่านั้น
4.ต้องยอมรับค่าจ้างตามข้อตกลงการจ้างงานระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง แต่ต้องไม่ต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำของแต่ละจังหวัด
5.ต้องเปิดบัญชีธนาคารกรุงไทย ประเภทออมทรัพย์ ในนาม “ชื่อลูกจ้างเข้าร่วมโครงการฯ” เพื่อรับโอนค่าจ้างจากนายจ้างและรับเงินอุดหนุนจากกรมการจัดหางาน
6.กรณีนายจ้างจ่ายค่าจ้างให้ลูกจ้างภายในสิ้นเดือน กรมการจัดหางาน จะโอนเงินอุดหนุนค่าจ้างผ่านบัญชีธนาคารกรุงไทยให้ลูกจ้างภายในวันที่ 5 ของเดือนถัดไป หรือ กรณีนายจ้างจ่ายค่าจ้างให้ลูกจ้างภายในวันที่ 5 ของเดือนถัดไป กรมการจัดหางานจะโอนเงินอุดหนุนค่าจ้างผ่านบัญชีธนาคารกรุงไทยให้ลูกจ้างภายในวันที่ 10 ของเดือนนั้น
7.ต้องยินยอมให้นายจ้างหักเงินสมทบจากค่าจ้าง เพื่อนำส่งให้แก่สำนักงานประกันสังคม
8.กรณีพบว่ามีการร่วมกันหรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแจ้งข้อมูลอันเป็นเท็จ จะถูกยกเลิกเข้าร่วมโครงการและต้องชดใช้ค่าใช้จ่ายที่รัฐบาลอุดหนุนให้คืน รวมทั้งถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย
ขั้นตอนการลงทะเบียน จนถึงการถูกจ้างงาน มีดังนี้
1.กดเข้าไปในเว็บไซต์ https://www.จ้างงานเด็กจบใหม่.com คลิกเลือก ผู้จบการศึกษาใหม่
2.คลิกด้านบนเพื่อลงทะเบียน กดยอมรับเงื่อนไข แนะนำว่าต้องอ่านให้ครบ ก่อนกดตกลงนะคะ
3.กรอกข้อมูลให้ครบ ระบุตำแหน่งงาน อัตราเงินเดือน และสถานที่ที่ต้องการทำงาน แล้วกดยืนยันการลงทะเบียน
4.รอผู้ประกอบการติดต่อกลับ เพื่อตกลงรายละเอียด
5.เมื่อผู้ประกอบการตอบรับการจ้างงาน ก็จัดทำบันทึกข้อตกลงเข้าร่วมโครงการฯ
6.หลังได้รับอนุมัติแล้ว ให้ดำเนินการเปิดบัญชีธนาคารกรุงไทย และให้นำเลขที่บัญชีมาเพิ่มในระบบ เพื่อรับเงินอุดหนุน
สามารถเข้าไปดูวิธีการใช้งานเว็บไซต์อย่างละเอียดได้ที่ https://www.xn--12clacd4e8al7d5e3cc7pvb4cwac.com/documents/web_%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%88%E0%B8%9A%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A8%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%88_V1.pdf
สำหรับผู้ประกอบการ ที่อยากจะเข้าร่วมโครงการ ก็สามารถแจ้งความประสงค์ ลงทะเบียนในเว็บไซต์นี้ได้เช่นกัน แต่มีเงื่อนไข คือ จะต้องเป็นสถานประกอบการที่อยู่ในระบบประกันสังคมเท่านั้น
สามารถดูรายละเอียดได้ที่ https://www.xn--12clacd4e8al7d5e3cc7pvb4cwac.com/documents/web_%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3_V1.pdf
นอกจากนี้ รัฐบาล ยังมีมาตรการช่วยเหลือนักศึกษาจบใหม่ วุฒิปริญญาตรี อีก 1 มาตรการ คือ การเปิดรับสมัคร “พนักงานราชการเฉพาะกิจ ” จำนวน 10,000 อัตรา ได้เงินเดือน 18,000 บาทต่อเดือน ระยะเวลาจ้าง 1 ปี บรรจุทำงานใน 28 ส่วนราชการ 14 กระทรวง ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ดังนี้
1.กระทรวงการคลัง 1,045 อัตรา แบ่งเป็น
– สำนักงานธนารักษ์ พื้นที่ 380 อัตรา
– สำนักงานสรรพสามิตภาค 70 อัตรา
– สำนักงานสรรพากรพื้นที่ 595 อัตรา
2.กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา 406 อัตรา โดยสำนักงานปลัดกระทรวง
3.กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 406 อัตรา โดยสำนักงานปลัดกระทรวง
4.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 1,664 อัตรา แบ่งเป็น
– สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัด 406 อัตรา
– สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ 60 อัตรา
– สำนักงานประมงจังหวัด 406 อัตรา
– สำนักงานเกษตรจังหวัด 406 อัตรา
– สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม 386 อัตรา
5. กระทรวงคมนาคม 546 อัตรา แบ่งเป็น
– สำนักงานขนส่งจังหวัด 406 อัตรา
– ท่าอากาศยาน 140 อัตรา
6.กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม 406 อัตรา โดยสำนักงานสถิติจังหวัด
7.กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 406 อัตรา โดยสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด
8.กระทรวงพลังงาน 406 อัตรา โดยสำนักงานพลังงานจังหวัด
9. กระทรวงมหาดไทย 1,218 อัตรา แบ่งเป็น
– สำนักงานจังหวัด 406 อัตรา
– สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด จำนวน 406 อัตรา
– สำนักงาน ปภ.จังหวัด 406 อัตรา
10. กระทรวงยุติธรรม 505 อัตรา แบ่งเป็น
– สำนักงานยุติธรรมจังหวัด 99 อัตรา
– สำนักงานคุมประพฤติจังหวัด 406 อัตรา
11.กระทรวงแรงงาน 1,774 อัตรา แบ่งเป็น
– สำนักงานแรงงานจังหวัด 406 อัตรา
– สำนักงานจัดหางานจังหวัด 406 อัตรา
– กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 150 อัตรา
– กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน 406 อัตรา
– สำนักงานประกันสังคมจังหวัด 406 อัตรา
12.กระทรวงวัฒนธรรม 406 อัตรา โดยสำนักงานปลัดกระทรวง
13.กระทรวงสาธารณสุข 406 อัตรา โดยสำนักงานปลัดกระทรวง
14.กระทรวงอุตสาหกรรม 406 อัตรา โดย สำนักงานปลัดกระทรวง สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด