หลังรัฐบาล มีมติเห็นชอบให้จ่ายเงินเยียวยานายจ้าง ลูกจ้าง ในพื้นที่ 10 จังหวัด ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 รวม 9 กิจการ โดยให้จ่ายผ่านสำนักงานประกันสังคม (สปส.) ตามมาตรา 33 มาตรา 39 มาตรา 40 มีค่า นิวส์ เลยสรุปมาให้ว่า ถ้าเราเข้าระบบประกันสังคมมาตรา 39 แล้ว จะได้สิทธิประโยชน์อะไรบ้าง? แล้วมีเงื่อนไขอย่างไร?
ต้องมีคุณสมบัติ ตามนี้
- เคยเป็นพนักงานเอกชน ลูกจ้าง แล้วลาออก
- เคยเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน และออกจากงานไม่เกิน 6 เดือน
- ต้องไม่เป็นผู้รับประโยชน์ทดแทน กรณีทุพพลภาพ จากกองทุนประกันสังคม
วิธีสมัคร
- สมัครด้วยตนเอง ที่สำนักงานประกันสังคมในพื้นที่อาศัย (กรณีให้หักบัญชีธนาคาร ต้องนำสำเนาสมุดบัญชีมาด้วย)
- สมัครทางออนไลน์ง่ายๆ อ่านย้อนหลังที่ https://mekhanews.com/2021/07/14/how-to-apply-for-social-security-section-39/
ขั้นตอนการส่งเงินสมทบ
จ่ายเงินสมทบเอง เดือนละ 432 บาท (ใช้ฐานคำนวณ เดือนละ 4,800 บาท เท่ากันทุกคน โดยคิดจากอัตราเงินสมทบ 9%) สามารถนำเงินที่จ่ายไปยื่นหักลดหย่อนภาษีได้ ส่วนการจ่ายเงินสมทบ จ่ายผ่านช่องทางได้ตามนี้
- หักบัญชีเงินฝากของธนาคาร
- จ่ายผ่านเคาน์เตอร์ธนาคาร
- จ่ายผ่านเคาน์เตอร์เซอร์วิส และที่ทำไปรษณีย์ด้วยระบบ Pay at Post
- จ่ายที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด
หมายเหตุ : สำนักงานประกันสังคม ปรับลดส่งเงินสมทบของผู้ประกันตนมาตรา 39 เป็นระยะเวลา 3 เดือน (มิ.ย.-ส.ค.64) ดังนี้
- ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบ เหลือร้อยละ 4.5 จากเดิมร้อยละ 9 โดยใช้ฐานในการคำนวณเงินสมทบเท่ากันทุกคน คือ เดือนละ 4,800 บาท (4,800 บาท x 4.5 %) เท่ากับจะต้องจ่าย 216 บาท จากเดิม 432 บาท
ทั้งนี้ หลังจากสิ้นสุด เดือนสิงหาคมแล้ว ผู้ประกันตนจะต้องจ่ายเงินสมทบในอัตราเดิม คือ ร้อยละ 9
สิทธิประโยชน์ที่จะได้รับ
เจ็บป่วย / ตาย / คลอดบุตร / สงเคราะห์บุตร / ทุพพลภาพ / ชราภาพ
การแจ้งสิ้นสุดสถานภาพ
กรณีตาย / กลับเข้าเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 / ลาออก / ไม่ส่งเงินสมทบ 3 เดือนติดต่อกัน / ส่งเงินสมทบไม่ครบ 9 เดือน ภายในระยะเวลา 12 เดือน
ที่มา : สำนักงานประกันสังคม