หลังจากสถาบันคุ้มครองเงินฝาก (สคฝ.) หรือ DPA ลดวงเงินคุ้มครองเงินฝาก จากเดิมอยู่ที่ 5 ล้านบาท แต่หลังจากวันที่ 11 สิงหาคม 2564 เป็นต้นไป ผู้ฝากเงินในสถาบันการเงิน ภายใต้กฎหมายคุ้มครองเงินฝาก จะได้รับความคุ้มครองเงินฝากตามกฎหมายคุ้มครองเงินฝาก วงเงินไม่เกิน 1 ล้านบาท ต่อ 1 รายผู้ฝาก ต่อสถาบันการเงิน อ่านย้อนหลังที่ https://mekhanews.com/2021/08/05/reduce-deposit-protection-limit-by-1-million-baht-start-11-aug/
ล่าสุด มีค่า นิวส์ ทราบจาก นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า วันนี้ถือเป็นวันแรก ของการลดวงเงินความคุ้มครองเงินฝากดังกล่าว ซึ่งสามารถคุ้มครองกลุ่มผู้ฝากเงินรายย่อย ที่เป็นกลุ่มผู้ฝากเงินส่วนใหญ่ของประเทศได้อย่างครอบคลุมถึงกว่าร้อยละ 98 จากผู้ฝากเงินทั้งหมดของระบบสถาบันการเงิน
ปัจจุบันสถาบันการเงินในประเทศไทย ยังคงมีความเข้มแข็งและมีเสถียรภาพ ทั้งในส่วนของระดับเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (BIS ratio) อยู่ที่ระดับร้อยละ 20 สูงกว่าหลายประเทศในภูมิภาค ประกอบกับการมีสภาพคล่องที่ยังอยู่ในระดับสูง สามารถรองรับความผันผวนของสภาวะทางเศรษฐกิจในปัจจุบันที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19
นอกจากนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มีการประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ประชาชนเข้าใจและเกิดความเชื่อมั่นในระบบการคุ้มครองเงินฝากที่มีประสิทธิภาพ
สำหรับผลิตภัณฑ์เงินฝากที่ได้รับความคุ้มครอง คือ เงินฝากที่เปิดไว้กับสถาบันการเงิน ที่อยู่ภายใต้กฎหมายคุ้มครองเงินฝาก เป็นเงินสกุลบาท และ เป็นบัญชีเงินฝากภายในประเทศ มี 5 ประเภท ได้แก่
– เงินฝากกระแสรายวัน
– เงินฝากออมทรัพย์
– เงินฝากประจำ
– บัตรเงินฝาก
– ใบรับฝากเงิน
ส่วนผลิตภัณฑ์ทางการเงิน หรือ เงินฝากบางประเภท ที่ไม่ได้รับการคุ้มครอง เช่น
– เงินฝากประเภทที่เป็นเงินตราต่างประเทศ
– เงินลงทุนในตราสารต่าง ๆ เช่น พันธบัตร หุ้นกู้ หน่วยลงทุน (SSF, RMF)
– เงินฝากในสหกรณ์
– แคชเชียร์เช็ค ตั๋วแลกเงิน
– เงินอิเล็กทรอนิกส์
– ผลิตภัณฑ์ประกันประเภทออมทรัพย์ ที่ออกโดยบริษัทประกัน
รายชื่อสถาบันการเงินที่ได้รับการคุ้มครอง มีดังนี้
1.ธนาคารพาณิชย์จดทะเบียนในประเทศ (19 แห่ง)
ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน)
ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน)
ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) จำกัด (มหาชน)
ธนาคารยูโอบี จำกัด (มหาชน)
ธนาคารทิสโก้ จำกัด (มหาชน)
ธนาคารเกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน)
ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน)
ธนาคารไอซีบีซี (ไทย) จำกัด (มหาชน)
ธนาคารไทยเครดิต เพื่อรายย่อย จำกัด (มหาชน)
ธนาคารเมกะ สากลพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
ธนาคารแห่งประเทศจีน (ไทย) จำกัด (มหาชน)
ธนาคารเอเอ็นแซด (ไทย) จำกัด (มหาชน)
ธนาคารซูมิโตโม มิตซุย ทรัสต์ (ไทย) จำกัด (มหาชน)
ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน)
2.สาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ (11 แห่ง)
ธนาคารเจพีมอร์แกน เชส
ธนาคารโอเวอร์ซี-ไชนีส แบงกิ้งคอร์ปอเรชั่น จำกัด
ธนาคารซิตี้แบงก์
ธนาคารอาร์ เอช บี จำกัด
ธนาคารแห่งอเมริกา เนชั่นแนล แอสโซซิเอชั่น
ธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้แบงกิ้งคอร์ปอเรชั่น จำกัด
ธนาคารดอยซ์แบงก์
ธนาคารมิซูโฮ จำกัด
ธนาคารบีเอ็นพี พารีบาส์
ธนาคารซูมิโตโม มิตซุย แบงกิ้ง คอร์ปอเรชั่น
ธนาคารอินเดียน โอเวอร์ซีส์
3.บริษัทเงินทุน (2 แห่ง)
บริษัทเงินทุน ศรีสวัสดิ์ จำกัด (มหาชน)
บริษัทเงินทุน แอ็ดวานซ์ จำกัด (มหาชน)
4.บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ (3 แห่ง)
บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ เอสเบ จำกัด
บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ เวิลด์ จำกัด
บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ แคปปิตอล ลิ้งค์ จำกัด