ผู้ป่วยโรคโควิด-19 ที่รับการรักษาแบบการแยกกักตัวที่บ้าน (Home Isolation) อาจมีความจำเป็นต้องใช้หน้ากากและถังออกซิเจนในการรักษา แม้ก๊าซออกซิเจนเป็นก๊าซที่ไม่ติดไฟ แต่สามารถเร่งปฏิกิริยาให้เกิดการลุกไหม้ที่รวดเร็วและรุนแรงได้ การใช้ถังออกซิเจนให้ปลอดภัยมีหลักปฏิบัติดังนี้
- สังเกตก่อนใช้
- ก๊าซออกซิเจนต้องบรรจุในถังสีเขียว ที่มีเครื่องหมาย มอก. 540-2555
- เกลียวนอกข้อต่อถังออกซิเจนต้องได้รับมาตรฐาน CGA 540
- ห้ามใช้ถังออกซิเจนที่ขึ้นสนิม
- ต้องใช้หัวอุปกรณ์ปรับลดแรงดันสำหรับถังออกซิเจนทางการแพทย์เท่านั้น
- ถ้าจำเป็นต้องไปพบแพทย์ ควรใช้ถังออกซิเจนแบบพกพาสำหรับเดินทาง
- พิจารณาใช้เครื่องผลิตออกซิเจน กรณีต้องใช้ออกซิเจนตลอดเวลา
- ระหว่างการใช้
- วางถังในแนวตั้งและยึดให้แน่น ระวังการล้มกระแทกขณะเคลื่อนย้าย
- ห้ามวางถังออกซิเจนในห้องโดยสารรถยนต์ เพราะถ้าเกิดการรั่วจะเป็นอันตรายได้
- ไม่อยู่ใกล้ความร้อนหรือเปลวไฟ เช่น สูบบุหรี่ เครื่องเป่าผม หรือมีดโกนไฟฟ้า รวมทั้งอยู่ห่างจากห้องครัวอย่างน้อย 5 เมตร
- ห้ามใช้อุปกรณ์ฉีดพ่น เช่น สเปรย์ปรับอากาศ สเปรย์ฉีดผม ใกล้กับถังออกซิเจนเพราะละอองฝอยมีคุณสมบัติไวไฟ
- ไม่ควรใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวที่ติดไฟได้ เช่น ปิโตรเลียมเจลลี่ น้ำมัน และหากล้างมือด้วยแอลกอฮอล์เจล ต้องปล่อยให้มือแห้งสนิทก่อนใช้
- หลังการใช้
- ห้ามเก็บในที่ปิด เช่น ตู้เสื้อผ้า และให้ห่างจากความร้อน เปลวไฟ อย่างน้อย 1.5 เมตร
- ติดป้ายห้ามสูบบุหรี่ และห้ามจุดไฟใกล้บริเวณที่เก็บ
- ปิดหัวจ่ายให้สนิทเพื่อป้องกันการรั่วไหล และหมั่นตรวจสอบการรั่วของถังออกซิเจนหลังใช้งาน
- หลังการใช้งาน ให้หมุนสวิตช์ตามเข็มนาฬิการเพื่อขันให้แน่น
ที่มา : อ.นพ.ธิติวัฒน์ ศรีประสาธน์