ถาม : เงินบำเหน็จชราภาพ เงินบำนาญชราภาพของประกันสังคม ต่างกันยังไง ?
ตอบ : เงินชราภาพ จะมาจากเงินสมทบที่จ่ายประกันสังคม 3% ของฐานเงินเดือน แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
1.เงินบำเหน็จชราภาพ ผู้ที่มีสิทธิได้รับเงิน คือ
- ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบไม่ถึง 180 เดือน (15 ปี)
- มีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์
- เมื่อออกจากงาน หรือความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง
- เป็นผู้ทุพพลภาพ หรือ ถึงแก่ความตาย
การคำนวณเงินที่ได้รับ
- จ่ายเงินสมทบน้อยกว่า 12 เดือน
- จะได้รับเงินออมชราภาพของผู้ประกันตนฝ่ายเดียว
จ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 12 เดือน แต่ไม่ถึง 180 เดือน จะได้รับเงินออมชราภาพของผู้ประกันตน + เงินสมทบนายจ้าง + ผลประโยชน์ตอบแทน ตามยอดเงินชราภาพ
2.เงินบำนาญชราภาพ ผู้ที่มีสิทธิได้รับเงิน คือ
- ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 180 เดือนขึ้นไป
- มีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์
- เมื่อออกจากงาน หรือ ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง
การคำนวณเงินที่ได้รับ
- จ่ายเงินสมทบ 180 เดือน หรือ 15 ปี (พอดี)
จะได้รับ 20% ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย
(คำนวณจากฐานค่าจ้าง ขั้นต่ำ 1,650 บาท สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท) - จ่ายเงินสมทบเกิน 180 เดือน (15 ปี) ขึ้นไป
จะบวกเพิ่มอัตราการจ่ายเงินบำนาญให้อีก 1.5% ของระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบทุกๆ 12 เดือน
(หรือได้รับ 20% ของค่าจ้างเฉลี่ย + 1.5% ทุก ๆ 1 ปี)
ที่มา : สำนักงานประกันสังคม