รัฐบาล มอบหมายให้กระทรวงสาธารณสุข เร่งพัฒนา “บัตรทองพรีเมี่ยม” เพื่อลดเหลื่อมล้ำ เพิ่มความสะดวก รวดเร็วมีคุณภาพ เพิ่มสิทธิรักษาโรคร้ายฟรี ย้ายสิทธิก็ง่าย เพิ่มบริการครอบคลุมทุกกลุ่ม เป็นอันดับ 1 ของอาเซียน ระบบสุขภาพที่มีคุณภาพในอนาคต มีค่า นิวส์ จึงจะพามารู้จักกับ บัตรทองพรีเมี่ยม
บัตรทองพรีเมี่ยม คือ บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า ซึ่งรัฐบาลมอบหมายให้กระทรวงสาธารณสุข เร่งพัฒนานำไปใช้ เพื่อเพิ่มสิทธิประโยชน์ เพิ่มคุณภาพและบริการ ดังนี้
1.ผู้ถือบัตรทองสามารถเข้ารับการรักษาได้ทุกที่ในโรงพยาบาลรัฐ ที่เป็นโรงพยาบาลปฐมภูมิทั่วประเทศ
2.นอนโรงพยาบาลโดยไม่ต้องมีใบส่งตัว
3.นโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติมีสิทธิทุกที่ ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต ได้รับการคุ้มครองสิทธิในการเข้าถึงบริการอย่างปลอดภัย ไม่มีเงื่อนไขในการเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาล ภายใน 72 ชั่วโมง หรือพ้นภาวะวิกฤติ เพื่อไม่ให้เกิดความเหลื่อมล้ำในการรักษาพยาบาล สามารถเปลี่ยนสิทธิรักษามีผลทันทีไม่ต้องรอ 15 วัน ผ่านแอปพลิเคชันของ สปสช.
4.ได้รับสิทธิในการรักษาโรคร้าย โดยผู้ป่วยมะเร็งสามารถเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเฉพาะทาง และรักษามะเร็งได้ในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขทุกที่
5.ได้รับสิทธิฟอกไตฟรี
6.รักษาโควิดฟรี
7.ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก การเพิ่มวัคซีน HPV ป้องกันมะเร็งปากมดลูก คัดกรองภาวะ Down Syndrome ในหญิงตั้งครรภ์ (อายุไม่เกิน 35 ปี)
8.ผ่าตัดฝังประสาทหูเทียมสำหรับเด็กหูหนวก และการให้บริการแว่นตาเด็ก
9.การรักษาผู้ป่วยติดบ้านหรือผู้ป่วยติดเตียงในชุมชนทุกสิทธิและทุกกลุ่มอายุ
10.แจกผ้าอ้อมผู้ใหญ่และแผ่นรองซับการขับถ่าย เพื่อดูแลผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ป่วยที่มีปัญหากลั้นขับถ่าย จำนวน 3 ชิ้น/คน/วัน ในการลดภาระค่าใช้จ่าย
11.เพิ่มการเข้าถึงบัญชียา โรคมะเร็งเต้านมระยะเริ่มต้น โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวและต่อมน้ำเหลือง
12.เพิ่มการเข้าถึงบัญชียา โรคติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี การป้องกันและรักษาโรคเอดส์ด้วยยาต้านไวรัส HIV
13.การเพิ่มสิทธิด้านวัคซีน 5 ชนิด (คอตีบ บาดทะยัก ไอกรน ไวรัสตับอักเสบบี และเยื่อหุ้มสมองอักเสบ)
14.รับการบริการสาธารณสุขระบบทางไกล (Telehealth/Telemedicine) และการตรวจทางห้องปฏิบัติการนอกโรงพยาบาล
15.รับยาที่ร้านขายยาแผนปัจจุบันใกล้บ้าน
16.ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หืด จิตเวช และโรคเรื้อรังอื่น ๆ บริการส่งยาเวชภัณฑ์ถึงบ้านทางไปรษณีย์
17.การใช้กัญชาทางการแพทย์สำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็ง พาร์กินสัน ไมเกรน
ที่มา : รัฐบาลไทย