เมื่อฝนตกย่อมทำให้เกิดแหล่งน้ำขังขึ้น ทำให้จึงเป็นแหล่งรวมของเชื้อโรคต่าง ๆ มากมาย ตามท้องถนน ทางเดินเท้า ทำให้การดำเนินชีวิตประจำวัน อาจไม่สามารถหลีกเลี่ยงแหล่งน้ำท่วมขังได้เสมอไป ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดต่าง ๆ ของโรคที่มากับหน้าฝน โดยเฉพาะโรคน้ำกัดเท้า อ่านเพิ่มเติม >> อาการ น้ำกัดเท้า มี่กี่ระยะ
โรคน้ำกัดเท้า เกิดจากการระคายเคือง ซึ่งอาจเกิดจากการอักเสบ ระคายเคือง และติดเชื้อ ขึ้นอยู่กับช่วงเวลาความถี่ในการโดนน้ำ เช่น ผิวหนังที่แช่น้ำนาน ๆ เซลล์ผิวหนังจะอุ้มน้ำบวมและเปื่อยฉีกขาดได้ โดยเฉพาะบริเวณที่มีการเสียดสี เช่น ง่ามนิ้วเท้า
ขั้นตอน รักษา น้ำกัดเท้า มีค่า นิวส์ สรุปมาให้ค่ะ
- หลีกเลี่ยงการแช่เท้าในน้ำมาก ๆ
- เลี่ยงการต้องสัมผัสน้ำ ใส่รองเท้าบูท เมื่อขึ้นจากน้ำให้ล้างเท้าด้วยน้ำสบู่ เช็ดเท้าให้แห้งอยู่เสมอและทาครีมบำรุงผิว
- ถ้ามีผื่นแดงเล็กน้อย คัน ควรทายากลุ่มสเตียรอยด์
- ถ้ามีผื่น และมีรอยเปื่อยฉีกขาดของผิว มีอาการบวมแดง ปวดเจ็บ หรือมีหนองเป็นอาการติดเชื้อแบคทีเรียที่รุนแรงขึ้น ควรพบแพทย์
- ถ้าเท้าแช่น้ำนานหลายสัปดาห์ต่อเนื่องหรือนิ้วเท้าเกย หรือชิดกันมากทำให้อาจติดเชื้อราที่ง่ามนิ้วเท้าเกิดเป็นผื่นขุยเปียกขาว ควรใช้ยาทารักษาเชื้อรา
- ถ้ามีบาดแผลควรทำแผลและทายาฆ่าเชื้อโรค เช่น เบตาดีน
- ระวังการตัดเล็บเท้าเพราะอาจเกิดบาดแผลเป็นทางเข้าของเชื้อโรค
- ทำความสะอาดเท้า ง่ามเท้าของเล็บทุกครั้งหลังลุยน้ำด้วยน้ำ และสบู่ จากนั้นเช็ดให้แห้ง
ข้อแนะนำเพิ่มเติม : หากอยู่ใกล้แหล่งอุตสาหกรรมให้ระวังน้ำปนเปื้อนสารเคมี ระวังไฟฟ้าดูด ควรรับประทานอาหารและดื่มน้ำที่สะอาด สวมเสื้อผ้าที่มิดชิด ระวังแมลงกัด และระวังโรคระบาดที่มากับน้ำท่วม เช่น โรคอุจจาระร่วง โรคไข้เลือดออก **หากเท้ามีความผิดปกติควรรีบพบแพทย์