นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) แถลงข่าวสรุปผลงานเด่นปี 2565 ของ สำนักงานประกันสังคม กับภารกิจสำคัญในการดูแลคุณภาพชีวิตของลูกจ้าง ผู้ประกันตน โดยมีผู้บริหารสำนักงานประกันสังคม พร้อมสื่อมวลชนเข้าร่วมงาน ณ ห้องประชุมสมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ อาคารอเนกประสงค์ สำนักงานประกันสังคม ถนนติวานนท์ ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2566 ที่ผ่านมา
อ่านเพิ่มเติม >> ส่อง! ของขวัญ นโยบายประกันสังคม 2566 เราได้จะสิทธิอะไร
นายบุญสงค์ เปิดเผยว่า สำนักงานประกันสังคม ดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และนโยบายรัฐบาลที่ให้ความสำคัญกับ “การสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม โดยสร้างหลักประกันทางสังคมที่ครอบคลุมและเหมาะสมกับคนทุกชวงวัยทุกเพศภาวะและทุกกลุ่ม” ในปี 2565 ที่ผ่านมา สำนักงานประกันสังคม ร่วมมือกับทุกภาคส่วน นายจ้าง ลูกจ้าง ผู้ประกันตน และภาคีเครือข่าย “ครอบครัวประกันสังคม” เพื่อแก้ปัญหาภายใต้แนวทาง “แรงงาน…เราสู้ด้วยกัน” ร่วมกันสู้เพื่อก้าวผ่านวิกฤตไปด้วยกัน
ดำเนินมาตรการให้ความช่วยเหลือ เยียวยา ลดภาระคำใช้จ่าย และบรรเทาความเดือดร้อนให้กับนายจ้าง ผู้ประกันตนที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 รวมถึงพัฒนาสิทธิประโยชน์ พัฒนาบริการทางการแพทย์ และเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ เพื่อขับเคลื่อนงานประกันสังคม ให้เป็นที่ยอมรับเชื่อมั่น ไว้วางใจจากทุกภาคส่วนในสังคม ภายใต้แนวความคิดในการขับเคลื่อน “SSO TRUST” มีผลการดำเนินงานสำคัญ ดังนี้
1.มาตรการให้ความช่วยเหลือนายจ้าง ลูกจ้าง ผู้ประกันตน ที่ได้รับผลกระทบจากการโควิด-19 อาทิ
- จัดตั้งศูนย์ตรวจคัดกรองโควิด-19 เพื่อให้บริการผู้ประกันตนนอกสถานพยาบาล จำนวน 13 แห่ง
- จัดหาโรงพยาบาล Hospitel ในเครือข่ายประกันสังคม รองรับผู้ประกันตนป่วยโควิด-19 จำนวน 24 จังหวัด
- การให้บริการทางการแพทย์แก่ผู้ประกันตนที่ป่วยโควิด-19 เข้ารับการรักษาพยาบาลได้ในสถานพยาบาลทุกแห่งทั้งภาครัฐและเอกชน โดยไม่ต้องสำรองจ่าย
- จัดตั้งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิดและสายด่วน 1506 กด 1 กด 6 และกด 7 เพื่อให้บริการสอบถามข้อมูลประสานและจัดหาสถานพยาบาลในการดูแลรักษา และการให้บริการฉีดวัคซีนโควิด- 19 แก่ผู้ประกันตนมาตรา 33, 39, 40
- ให้บริการฉีดวัคโควิด-19 แก่ผู้ประกันตนฉีดวัคซีน เข็ม 1 เข็ม 2 และเข็ม 3 แก่ผู้ประกันตน
- โครงการ Factory Sandbox (ตรวจรักษา ควบคุม ดูแล) ครอบคลุมในพื้นที่ 12 จังหวัด มีสถานประกอบการเข้าร่วมโครงการจำนวน 730 แห่ง
2.มาตรการช่วยเหลือเยียวยา
- ลดอัตราเงินสมทบ มาตรา 33 และ 39 ระหว่างปี 2563-2565 รวม 7 ครั้ง (21 เดือน) มาตรา 40 ระหว่างปี
2564-2565 รวม 2 ครั้ง (12 เดือน) - จ่ายสิทธิประโยชน์กรณีว่างงาน เนื่องจากเหตุสุดวิสัย นายจ้างหยุดกิจการชั่วคราว จากคำสั่งปิดสถานที่ของรัฐ กรณีลูกจ้าง ไม่ได้ทำงานเนื่องจากต้องกักตัวเฝ้าระวังการระบาดของโรค โดยให้สิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานจากเหตุสุดวิสัยในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างที่ส่งเงินสมทบ จ่ายให้เป็นเวลาไม่เกิน 90 วัน
- เยียวยาแรงงาน กรณีปิดแคมป์คนงาน กรณีว่างงานจากเหตุสุดวิสัยในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างที่ส่งเงินสมทบ
- โครงการสินเชื่อเพื่อส่งเสริมการจ้างงาน สำนักงานประกันสังคม ร่วมกับสถาบันการเงินสนับสนุนสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำวงเงิน 30,000 ล้านบาทให้กับสถานประกอบการมีธนาคารที่ลงนามในบันทึกข้อตกลง 5 ธนาคาร
- โครงการเยียวยาภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา ฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19
3.พัฒนาสิทธิประโยชน์
- ประกันเงินบำนาญชราภาพขั้นต่ำ แก้ไขกฏกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ ระยะเวลา และอัตราการจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพ พ.ศ. 2560 ให้ได้รับเงินบำนาญครบ 60 เดือน ผู้รับบำนาญได้รับการคุ้มครองที่เป็นธรรมมากขึ้น และเป็นการรับประกันว่าจะได้รับบำนาญอย่างน้อย 60 เดือนใกล้เคียงกับเงินสะสมบำเหน็จชราภาพทำให้ผู้ประกันตนเกิดความมั่นใจในการรับบำนาญชราภาพ
- แก้ไขพระราชบัญญัติประกันสังคมเพื่อเพิ่มสิทธิประโยชน์ให้กับผู้ประกันตน และให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน โดยมีการขยายอายุผู้ประกันตนมาตรา 33 จากเดิม 15-60 ปี เป็น 15-65 ปี ขยายอายุขั้นสูงผู้ประกันตนมาตรา 33 (เดิม 60 ปี เป็น 65 ปี) เพื่อให้สอดคล้องกับการกำหนดนิยามผู้สูงอายุ (Old age) ขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) และองค์การสหประชาชาติ (UN)
- การเพิ่มเงินทดแทนขาดรายได้กรณีทพพลภาพ เดิมร้อยละ 50 เป็นร้อยละ 70 ของค่าจ้าง เพื่อให้เพียงพอต่อการดำรงชีพ สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน เงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตร จาก 90 เป็น 98 วัน ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรเพิ่มขึ้น โดยเป็นการเหมาจ่ายครั้งละ 50% ของค่าจ้าง เป็นเวลา 98 วัน
- เงินสงเคราะห์บุตร ให้ได้รับการคุ้มครองต่อไปอีก 6 เดือน นับแต่วันที่สิ้นสภาพการเป็นผู้ประกันตน กรณีชราภาพ 3 ขอ (ขอเลือก/ขอคืน/ขอกู้)
- การแก้ไขเพิ่มเติมสิทธิประโยชน์กรณีชราภาพ ผู้ประกันตนสามารถเลือกรับเงินบำเหน็จ หรือบำนาญชราภาพได้ หรือเลือกรับบำนาญใน 5 ปีแรกล่วงหน้าเป็นบำเหน็จ และรับเงินบำนาญรายเดือนตลอดชีวิต กรณีเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ สาธารณภัย หรือเหตุการณ์อื่นใดอันส่งผลกระทบต่อผู้ประกันตน สามารถนำเงินชราภาพบางส่วนออกมาใช้ก่อน เพื่อเสริมสภาพคล่องทางการเงินแก่ผู้ประกันตน สามารถนำเงินสะสมกรณีชราภาพไปเป็นหลักประกันกับสถาบันการเงินได้
4.พัฒนาบริการทางการแพทย์
- ขยายระยะเวลา MOU การให้บริการทางการแพทย์กรณีรักษาด้วยการทำหัตถการด้านโรคหัวใจ และหลอดเลือดกับโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ตามโครงการรักษาหัวใจ 7/24 เฉลิมพระเกียรติ (เริ่มดำเนินการตั้งแต่ 29 สิงหาคม 2565 ถึงวันที่ 28 สิงหาคม 2566) มีผู้ประกันตนเข้าไปใช้บริการจำนวน 329 ราย เป็นเงินจำนวน 62,978,198 บาท
- ลดขั้นตอนอนุมัติสิทธิฟอกเลือด โดยผู้ประกันตนและผู้ทุพพลภาพที่ประสงค์จะขอรับบริการทางการแพทย์โดยการบำบัดทดแทนไตกรณีการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ยื่นคำขอด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยแนบหลักฐานเอกสารประกอบคำขอ และให้สำนักงานประกันสังคมพิจารณาวินิจฉัยอนุมัติสิทธิบำบัดทดแทนไตให้แก่ผู้ประกันตนโดยไม่ต้องสำรองจ่าย สามารถยื่นสิทธิการรักษาที่สถานพยาบาลได้ทันทีผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ตั้งแต่วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2565 เป็นต้นไป
- ปรับปรุงค่าบริการทางการแพทย์กรณีรักษาโรคโควิด-19 ดูแลรักษาผู้ประกันตนที่ป่วยด้วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เป็นไปตามแนวทาง การรักษาที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด และหลักเกณฑ์และอัตราเป็นไปตามประกาศคณะกรรมการการแพทย์ ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม เรื่อง หลักเกณฑ์ และอัตราค่าบริการทางการแพทย์กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด-19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) ลงวันที่ 29 เมษายน 2565 โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป
- ขยายระยะเวลาให้บริการการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ปี 2565 จากเดิมตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2565 – 31 สิงหาคม 2565 ขยายถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2565 โดยมีผู้ประกันตนที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไปเข้ารับบริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ จำนวน 293,079 โดส
5.เพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์
- เพิ่มช่องทางรับชำระเงินสมทบ จำนวน 3 ธนาคาร ได้แก่ ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และธนาคารเจพีมอร์แกน เชส ซึ่งปัจจุบันมี 14 ธนาคาร และ 1 หน่วยบริการ เพื่อให้บริการในการรับชำระเงิน
- พัฒนาและเพิ่มช่องทางการให้บริการเบิกจ่ายประโยชน์ทดแทนด้วยตนเองของผู้ประกันตนผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Self service) กองทุนประกันสังคม เพื่อยกระดับการให้บริการนายจ้างและผู้ประกันตนสามารถตรวจสอบ หรือทำรายการ กับกองทุนประกันสังคมได้ทุกกิจกรรม ที่เป็นข้อมูลของผู้ประกันตนและสถานประกอบการ
- เพิ่มช่องทางการรับสมัคร ขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ผ่าน Application ทางรัฐ โดยเปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ 19 ตุลาคม 2565 ที่ผ่านมา เพิ่มช่องทางการรับชำระเงินสมทบผู้ประกันตนมาตรา 40 ผ่านเคาน์เตอร์ Boonterm Bill Payment (จุดชำระเงินของบิ๊กซีเดิม) ได้เริ่มให้บริการตั้งแต่วันที่ 20 ธันวาคม 2565
6. รางวัลแห่งความสำเร็จที่สำนักงานประกันสังคมได้รับในปี 2565
- รางวัลคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (ITA) ประจำปี 2565
- รางวัลบริหารจัดการและการแก้ไขปัญหาสถานการณ์การแพร่ระบาด ของ CORONAVIRUS COVID 19” ในงาน SIAMRATH ONLINE AWARD 2022 ผ่านระบบออนไลน์ ทางเพจเฟสบุ๊คสยามรัฐ
- รางวัลด้านการประชาสัมพันธ์ 2 รางวัล ได้แก่ รางวัล FINALIST จากงาน THAILAND SOCIAL AWARDS 2022 ที่เป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมการใช้ SOIAL MEDIA อย่างสร้างสรรค์
- รางวัล Best Official Account in Public Sector 2021 ซึ่งถือเป็นองค์กรภาครัฐที่สร้างความสำเร็จในการสร้างสรรค์การสื่อสารกับประชาชนผ่านแพลตฟอร์ม LINE ประเทศไทยได้อย่างยอดเยี่ยมแห่งปี 2564
- หน่วยงานในสังกัดสำนักงานประกันสังคม ผ่านการรับตรวจประเมินและรับรองมาตรฐาน การให้บริการของศูนย์ราชการสะดวก (GECC) จำนวน 5 หน่วยงาน ได้แก่ สำนักงานประกันสังคมจังหวัดเชียงใหม่ สาขาฝาง สำนักงานประกันสังคมจังหวัดแพร่ สำนักงานประกันสังคมจังหวัดยโสธร สำนักงานประกันสังคมจังหวัดชัยนาท สำนักงานประกันสังคมจังหวัดตราด
- สำนักงานประกันสังคมได้รับประกาศเกียรติคุณ หน่วยงานที่มีการดำเนินการด้านความมั่นคงปลอดภัยเป็นเลิศ (Certificate of Cyber Safety) โดยการคัดเลือกจากสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ ภายใต้กิจกรรม Thailand Cyberscurity Excellence Award 2022 สอดคล้องกับแนวทางของพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. 2562 และเป็นไปตามมาตรฐานสากล
- รางวัล ASSA Recognition Award สาขาเทคโนโลยีในการสื่อสารที่โดดเด่น จากการให้บริการอิเล็กทรอนิกส์ จากการประชุมคณะกรรมการบริหารสมาคมการประกันสังคมอาเซียน ครั้งที่ 39 (39 th ASEAN Social Security Association Board Meeting) ณ เมืองหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
7.การให้ความช่วยเหลือผู้ประกันตนเชิงรุก สำนักงานประกันสังคม อยู่เคียงข้างผู้ประกันตนทุกสถานการณ์ เคียงข้างทุกวิกฤต หากเกิดเหตุการณ์ หรือเหตุฉุกเฉินในกรณีที่มีผู้ประกันตนประสบเหตุต่าง ๆ สำนักงานประกันสังคม จะดำเนินการเชิงรุกลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงให้ได้มากที่สุด เพื่อนำข้อมูลมาเข้าสู่ระบบของสำนักงานฯ ให้ได้ นำมาสู่การให้ความช่วยเหลือให้กับผู้ประกันตนและญาติ เปรียบเสมือนบุคคลในครอบครัวโดยเร็วที่สุด