มะเร็งหลังโพรงจมูก เป็นหนึ่งในมะเร็งบริเวณศีรษะและคอ ซึ่งเกิดจากการเติบโตของเซลล์ที่ผิดปกติหรือมีความเปลี่ยนแปลงจนเกิดเป็นเนื้อร้ายที่สามารถแพร่กระจายไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกายได้ ซึ่งมะเร็งหลังโพรงจมูกจะเกิดบริเวณหลังโพรงจมูก นอกจากนี้ยังเป็นมะเร็งที่พบได้บ่อยในประเทศไทย ทำให้ มีค่า นิวส์ จึงนำข้อมูลเกี่ยวกับโรคดังกล่าวมาฝาก
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคมีหลายปัจจัย ได้แก่
- การรับประทานอาหารประเภทหมักดอง
- อาหารที่มีสารไนโตรซามีนเป็นประจำ
- การสูบบุหรี่
- การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- การติดเชื้อเรื้อรังของไวรัส Epstein-Barr Virus (EBV)
- ความเสี่ยงทางพันธุกรรม เช่น เชื้อชาติจีน และประชากรในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นต้น
อาการของโรคมะเร็งหลังโพรงจมูกมีหลายอาการ เช่น
- คัดจมูก
- น้ำมูกไหลเรื้อรัง รักษาแบบโรคภูมิแพ้ ไซนัสอักเสบ แต่อาการยังไม่ดีขึ้น
- มีน้ำมูกหรือเสมหะปนเลือด
- ปวดศีรษะ
- ตามองเห็นภาพซ้อน
- มีเลือดกำเดาไหล
- หูอื้อ
- ชาบริเวณใบหน้า
- ปวดหัวและมีก้อนคอ
การวินิจฉัยโรคมะเร็งหลังโพรงจมูก
- วิธีการส่องกล้องภายในจมูกเพื่อดูหลังโพรงจมูก หากพบเนื้องอกที่มีลักษณะผิดปกติ เช่น เนื้อนูน ผิวขรุขระมีเลือดซึม แพทย์จะทำการตัดชิ้นเนื้อส่วนนั้นออกมาตรวจ และต้องตรวจเพิ่มเติมว่าโรคมีการกระจายไปยังส่วนอื่น ๆ หรือไม่
การรักษาสามารถทำได้ 3 วิธี ได้แก่
- การฉายรังสีรักษา
- การให้ยาเคมีบำบัดเป็นการรักษาหลัก
- การผ่าตัดอาจมีบทบาทในรายที่เป็นซ้ำ
การป้องกันการเกิดมะเร็งหลังโพรงจมูกเบื้องต้น
- ควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ รับประทานผักและผลไม้สดเป็นประจำ หลีกเลี่ยงอาหารหมักดอง
- ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดความเสี่ยง ได้แก่ การงดสูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงรับควันบุหรี่ และคอยหมั่นสังเกตอาการตนเองอยู่เสมอ เมื่อพบความผิดปกติควรรีบปรึกษาแพทย์
ที่มา: โรงพยาบาลนครธน และสำนักงานสารนิเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข