นายไกรสร กองฉลาด ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น กล่าวถึงสถานการณ์อ่างเก็บน้ำห้วยเตยที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจากฝนตกหนักต่อเนื่อง ทำให้ต้องอพยพชาวบ้านเพราะกลัวอ่างเก็บน้ำจะแตกและเกิดน้ำล้นทางสปริงเวยของตัวอ่าง ทำให้บ้านโนนทันตัดขาดจากโลกภายนอก ทางจังหวัดจึงส่งเรือเข้าช่วยเหลือหาอาหารให้ชาวบ้านที่ได้รับความเดือดร้อน
ขณะที่ปริมาณน้ำในเขื่อนอุบลรัตน์ ล่าสุด เพิ่มขึ้นไปถึง 87% ของความจุอ่าง ตั้งแต่เที่ยงคืนวันที่ 8 ต.ค. 66 ที่ผ่านมา ดังนั้น เขื่อนอุบลรัตน์จึงต้องปรับแผนการระบายน้ำ ดังนี้
1.วันที่ 9 ต.ค.2566 ระบายน้ำ 3 ล้าน ลบ.ม.
2.วันที่ 10 ต.ค. 2566 ระบายน้ำ 6 ล้าน ลบ.ม.
3.วันที่ 11 ต.ค. 2566 ระบายน้ำ 9 ล้าน ลบ.ม.
4.วันที่ 12 ต.ค. 2566 ระบายน้ำ 12 ล้าน ลบ.ม.
5.วันที่ 13 ต.ค. 2566 เป็นต้นไป ระบายน้ำคงที่ วันละ 15 ล้าน ลบ.ม. **จนกว่าจะมีสถานการณ์เปลี่ยนแปลง
อย่างไรก็ตาม แผนทั้งหมดเป็นแผนระบายน้ำผ่านระบบเครื่องปั่นไฟ ไม่ได้ส่งผลกระบบต่อชาวบ้านท้ายเขื่อนแต่อย่างใด
ด้านสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ คาดการณ์จะมีปริมาณฝนเพิ่มขึ้นอีกช่วงวันที่ 9-12 ตุลาคม 2566 ส่งผลให้น้ำหลากลงสู่ลุ่มน้ำและอ่างเก็บน้ำเพิ่มมากขึ้น ช่วงวันที่ 12-18 ตุลาคม 2566 จำนวน 8 แห่ง ดังนี้
- อ่างเก็บน้ำแม่งัดสมบูรณ์ชล จังหวัดเชียงใหม่
- อ่างเก็บน้ำกิ่วลม และแม่มอก จังหวัดลำปาง
- อ่างเก็บน้ำห้วยหลวง จังหวัดอุดรธานี
- อ่างเก็บน้ำน้ำพุง และหนองหาร จังหวัดสกลนคร
- อ่างเก็บน้ำอุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น
- อ่างเก็บน้ำลำปาว จังหวัดกาฬสินธุ์
- อ่างเก็บน้ำขุนด่านปราการชล จังหวัดนครนายก
- อ่างเก็บน้ำขนาดกลางและขนาดเล็กที่มีปริมาตรน้ำมากกว่าร้อยละ 80 และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เสี่ยงน้ำล้นกระทบพื้นที่บริเวณท้ายอ่างเก็บน้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณ อ่างเก็บน้ำป่าสักชลสิทธิ์ คาดการณ์ว่าจะมีน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลัน และมีแนวโน้มปริมาตรน้ำมากกว่าร้อยละ 80
ขอบคุณข้อมูล รัฐบาลไทย